วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561



การเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน

การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร

1. การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กรความหมาย
การเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร ข้อแตกต่างของคำว่า ประสิทธิผล กับ ประสิทธิภาพประสิทธิผล(Effectiveness) หมายถึง ความสำเร็จในการที่สามารถดำเนินกิจการก้าวหน้าไปและสามารถบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ที่องค์กรตั้งไว้

ประสิทธิภาพ (Effciency) หมายถึง การเปรียบเทียบทรัพยากรที่ใช้ไปกับผลที่ได้จากการทำงานว่าดีขึ้นอย่างไร แค่ไหน ในขณะที่กำลังทำงานตามเป้าหมายองค์กร วิธีการใช้ตัวเกณฑ์วัดประสิทธิภาพขององค์กร
1. เกณฑ์วัดผลตามเป้าหมาย
2. เกณฑ์การบริหารประสิทธิภาพเชิงระบบ
3. เกณฑ์การบริหารประสิทธิภาพโดยอาศัยกลยุทธ์ตามสภาพแวดล้อมเฉพาะส่วน
4. การใช้วิธีการแข่งขันคุณค่าการสร้างองค์กรแห่งคุณภาพ

การที่องค์กรจะไปสู่คุณภาพนั้น จำเป็นต้องปรับองค์กร โดยทั่วไปนิยมใช้ 3 วิธีคือ
1. การลดต้นทุน
2. การเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่อง
3. การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
นิสัยแห่งคุณภาพมี 7 ประการ ดังนี้
1. ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
2. การทำงานเป็นทีม
3. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
4. การมุ่งที่กระบวนการ
5. การศึกษาและฝึกอบรม
6. ประกันคุณภาพ
7. การส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วม
กลยุทธ์การบริหารเชิงคุณภาพ เป็นเพียงการนำเสนอดังนี้   
1. วงจร PDCA หรือ PDCA

2. ระบบ 5 ส หรือ 5 S

3. กลุ่มระบบ QCC (Quality Contrl Circle:QCC)

4. ระบบการปรับรื้อ (Re-engineering)

5. ระบบ TQM (Total Quality Management)

2. องค์กรและการจัดการองค์กร
ความหมายขององค์กร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตตยสถาน ได้นิยามความหมายของ “องค์กร” ไว้ว่าองค์กรเป็นศูนย์รวมกิจกรรมที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย ถ้าเป็นงานสาธารณะ เรียกว่า องค์กรบริหารส่วนราชการ ถ้าเป็นหน่วยงานเอกชน เรียกว่า องค์กรบริหารธุรกิจลักษณะขององค์กร องค์กรโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ   คือ
1. องค์กรทางสังคม

2. องค์กรทางราชการ

3. องค์กรเอกชน

1. โครงสร้างขององค์กร 
โครงสร้างขององค์กร เป็นการมององค์กรในลักษณะที่เต็มที่ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ และบทบาทหน้าที่ที่เป็นระเบียบ เพื่อการจัดการและบริหารให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อความสำเร็จขององค์กร

2. โครงสร้างขององค์กรจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ
ดังนี้มีเป้าหมายวัตถุประสงค์มีภารหน้าที่มีการแบ่งงานกันทำมีสายการบังคับบัญชามีช่วงการควบคุมมีความเอกภาพประเภทขององค์กร องค์กรจะมีความแตกต่างกันมากมาย ทั้งในด้านองค์ประกอบและวัตถุประสงค์ ฉะนั้นในการแบ่งประเภทขององค์กร จึงสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 
2.1 องค์กรปฐมและมัธยม 
2.2 องค์กรรูปนัยและอรูปนัย 
เป้าหมายขององค์กรเป้าหมายขององค์กร เป็นการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของงอค์กร โดยคอยกำหนดแนวทางการปฏิบัติ เมื่อองค์กรมีเป้าหมายที่ชัดเจน จะทำให้มีความเข้าใจในการทำงาน
หลักการจัดองค์กรครั้งนี้จะเน้นไปที่ระบบราชการ โดยมีหลักสำคัญดังนี้การกำหนดหน้าที่การงานการแบ่งงานสายการบังคับบัญชาอำนาจการบังคับบัญชาช่องการควบคุมแผนภูมิองค์กรสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการขัดองค์กรนักวิชาการได้กล่าวถึงหลักการจัดองค์กรไว้หลายประการ แต่โดยสรุปได้ดังนี้
1. องค์กรมีเป้าหมาย นโยบาย และแผนงานในการดำเนินงานอย่างชัดเจน เพื่อให้เพื่อนร่วมงานหรือสมาชิกองค์กรทราบ ซึ่งจะทำให้การบริหารองค์กรดำเนินไปด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
2. องค์กรต้องจัดให้มีศูนย์กลางในการอำนวยการที่มีและสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบและอำนวยการโดยตรง
3. องค์กรจะต้องระบุหน้าที่การงาน ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคนให้ชัดเจนมีการแบ่งแยกหน้าที่ตามความเหมาะสม ตรงตามความรู้ความสามารถ
4. องค์กรต้องจัดระบบการทำงานอย่างเหมาะสม มีเทคนิคในการควบคุมงาน และการประสานงานในองค์กร
5. องค์กรต้องมีระบบการสื่อสารที่ดี มีหลักอำนวยการ การวินิจฉัยสั่งการที่ดี
ขั้นตอนการจัดองค์กรการจัดองค์กรมีประสิทธิภาพนั้น เออร์เนสต์ เดล ได้เสนอแนะไว้เบื้องต้น 3 ขั้นตอน ดังนี้การกำหนดรายละเอียดของงานการแบ่งงานให้แต่ละคนในองค์กรได้รับผิดชอบตามความเหมาะสมการประสานงาน
3.พฤติกรรมในองค์กรพฤติกรรมในองค์กร 
องค์กรจะสร้างรูปแบบของการดำเนินงาน ตลอดจนการปฎิบัติงานต่าง ๆ ขึ้น เพื่อสนองตอบการเปลี่ยนของ  สิ่งแวดล้อม และสภาวะที่เกิดจากการดำเนินงานของบุคคลและของกลุ่ม หรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า รูปแบบเฉพาะในการดำเนินงานที่องค์กรสร้างขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการปรับองค์ประกอบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันและกันได้การศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ในองค์กร 3 ระดับ คือ
1. พฤติกรรมบุคคล (Individual Behavior)

2. พฤติกรรมกลุ่ม (Group Behavior)

3. พฤติกรรมองค์กร (Organization Behavior)


ความพึงพอใจในการทำงาน หมายถึง สภาวะของอารมณ์ ความรู้สึก และเจตคติของบุคคลที่มีต่องานที่เขาปฎิบัติอยู่ โดยแสดงออกมาเป็นความสนใจ กระตือรือร้น เต็มใจและสนุก ร่าเริง เป็นต้น เมื่อผู้ปฎิบัติงานเกิดความพึงพอใจในงานที่ทำ เขาก็จะมีความพยายาม อุตสาหะ มีความสุขในการทำงาน และความมุ่งมั่นจนงานนั้นสำเร็จตามวัตถุประสงค์ความสำคัญของความพึงพอใจในการทำงาน วิธีการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของบุคคลมี 3 วิธีการ คือ
1. วิธีการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Managerial Approach)
2. วิธีการมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation Approach)
3. วิธีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Managemrnt)
4. การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร
กลยุทธิ์ในการพัฒนาตนเองเพื่อให้การพัฒนาตนเองประสบผลสำเร็จ จึงขอเสนอหลักการเพิ่มเติม เพื่อการพัฒนาตนเองไปถึงจุดที่ควรจะเป็น และพยายามหาวิธีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยบุคคลจะต้องเรียนรู้ตัวเราให้ดีก่อน แล้วจึงนำความเข้าใจกับสิ่งที่เรารู้ จากตัวบุคคลจาสิ่งที่ตัวเราที่แท้จริงก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้เราสามารถมองเห็นข้อบกพร่อง แล้วจึงยึดหลักเพื่อปฏิบัติตนเอง เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ หรือการดำเนินชีวิตดังนี้การเป็นผู้มีจิตใจสงบการเป็นผู้มีจิตใจเบิกบานความเป็นผู้ไม่หวาดหวั่นต่อความยากลำบากเป็นผู้ตรงต่อเวลา ความเป็นผู้มีความเชื่อมั่นในตนเองความเป็นผู้ละเอียดรอบคอบการเป็นคนขยันขันแข็งความเป็นผู้เชื่อถือของผู้อื่นการสร้างทีมงานความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับปัจจัยการทำงานเป็นทีม ภารกิจสำเร็จของนักบริหารจัดการคือ การพยายามทำความเข้าใจกับส่วนประกอบของทีมงาน การกำหนดวัตถุประสงค์ของทีมงานให้ชัดจน และการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายขององค์กรนักบริหารจะต้องไม่ลืมความสัมพันธ์ลักษณะระหว่างคุณลักษณะของการทำงานเป็น กับความสำเร็จงานบนพื้นฐานง่ายๆ ดังนี้
การสร้างทีมงาน
1. การสร้างทีมงาน (Team-Building)
2. การทำงานป็นทีม(Team- Wok)

วัตถุประสงค์ในการสร้างทีมงานลักษณะงานที่ต้องการสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จะต้องจัดระบบในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การติดต่อสื่อสารกระบวนการแก้ปัญหา และการทำงานเป็นลักษณะงานประจำ และการบริการที่อยู่ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานี้ เราจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และสติปัญญา ในอันที่จะเริ่มสร้างสิ่งใหม่ ๆ รวมทั้งเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และยังต้องอาศัยความสามารถอย่างเต็มที่ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน ดังนั้น การตระหนักถึงความจำเป็นในการทำงานร่วมกัน การสร้างทีมงานจึงมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อสร้างความไว้วางใจในหมู่สมาชิกทีมงานเดียวกัน ด้วยการเห็นคุณค่าของคน และยอมรับในศักยภาพของแต่ละบุคคลการทำงานเป็นทีมมีประสิทธิผลมากขึ้น เมื่อสมาชิกทีมได้เสริมสร้างทักษะความเชี่ยวชาญมากขึ้นประสิทธิภาพการทำงานจะเพิ่มขึ้น เมื่อการแสดงความคิดเห็นในลักษณะข้อมูลป้อนกลับขอทีมงานถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นคนเราจะทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น เมื่อมีการเปิดเผยและจริงใจต่อกัน โดยเฉพาะตอนที่มีปัญหาเพื่อให้การสนับสนุนด้านพัฒนาบุคลิกภาพ รู้จักเปิดหน้าต่างการเรียนรู้ โดยรับฟังความคิดเห็นข่าวสารเพื่อการพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เป็นการช่วยลดการขัดแย่งระหว่างบุคคลเนื่องจากสมาชิกของทีมงานได้เรียนรู้ถึงทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากขึ้นส่งเสริมความริเริ่มสร้างสรรค์ในหมู่สมาชิกของทีม และเป็นการสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานลักษณะของทีมงานที่ดีทีมงานที่ดี จะมีความสมดุลที่เหมาะสมองทักษะความสามารถ รวมทั้งความพอใจทุกคนสามารถแสดงออกด้วยความซื่อสัตย์และเปิดเผย การสนทนาเกี่ยวกับงานจะเหมือนกันทั้งภายในและภายนอก องค์กรมีการเผชิญหน้าและเปิดเผย และใช้สื่อกลางสำหรับการเรียนรู้ และเมื่อเผชิญกับสถานการที่ยากลำบาก ดังนั้น การสร้างทีมงานที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้ประโยชน์ของการทำงานเป็นทีมงานดีมีคุณภาพเพิ่มผลผลิตของตนลดความขัดแย้งในองค์กรรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองปลูกฝังความรับผิดชอบสร้างมิตรสัมพันธ์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
5. บุคลิกภาพแนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพ มาจากคำบาลี 2 คำ คือ บุคลิก กับ ภาวหรือภาพ เมื่อนำมารวมกันหรือสมาสกันเป็น บุคลิกภาพ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Personality แปลว่า ลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลซึ่งแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะไม่ตรงกันนอกจากนี้ นักจิตวิทยาได้ให้ความหมายบุคลิกภาพไว้หลายทัศนะด้วยกัน เช่นบุคลิกภาพ คือ ผลรวมของพันธุกรรม และประสบการณ์ทั้งหมดของบุคคลบุคลิกภาพ คือ ลักษณะรวมของบุคคล และวิธีการแสดงออกทางพฤติกรรม ซึ่งกำหนดการปรับตัวตามแบบฉบับของแต่ละบุคคลต่องสิ่งแวดล้อมบุคลิกภาพ คือ กระบวนการสร้างหรือการจัดส่วนประกอบของแต่ละคน ทั้งภายในและภายนอก (จิตใจและร่างกาย) ซึ่งบุคลิกภาพนี้จะทำหน้าที่เป็นเครื่องกำหนด ตัดสินพิจารณาลักษณะพฤติกรรม และความนึกคิดของบุคคลนั้นสรุป บุคลิกภาพ คือ ลักษณะพิเศษเฉพาะของบุคคลแต่ละบุคคล อันทำให้บุคคลนั้นแตกต่างจากบุคคลอื่น ๆ บุคลิกภาพประกอบด้วยรูปสมบัติและคุณสมบัติองค์ประกอบของบุคลิกภาพบุคลิกภาพ ประกอบไปด้วยลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ลักษณะท่าทาง
2. ลักษณะทางใจ
3. ลักษณะทางสังคม
4. ลักษณะทางอารมณ์ลักษณะของผู้มีบุคลิกภาพที่ดีบุคลิกภาพที่ดี มักจะเป็นคนที่มีพื้นฐานด้านสุขภาพจิตดี ทำให้มีการปรับตัวที่ดี และส่งผลถึงการมีบุคลิกภาพที่ดีด้วย ผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี จะมีคุณลักษณะและความสามารถทางจิตที่สำคัญ 6 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสภาพความจริงอย่างถูกต้อง
2. การแสดงอารมณ์ในลักษณะและขอบเขตที่เหมาะสม
3. ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
4. ความสามารถในการทำงานที่อำนวยคุณประโยชน์
5. ความรักและการต้องการทางเพศ
6. ความสามารถในการพัฒนาตน
การพัฒนาบุคลิกภาพ คำว่า บุคลิกภาพ มาจากคำว่า Personality แปลว่า ลักษณะเฉพาะตัวของบุคคล ซึ่งไม่เหมือนกัน ดังนั้น บุคลิกภาพเราจึงหมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของเราแต่ละคน ซึ่งไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร บุคลิกภาพเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ไม่มีใครสามารถเลียนแบบบุคลิกภาพผู้อื่นได้เหมือนทุกอย่าง ทุกประการ และบุคลิกภาพสามารถปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นได้ประเภทของบุคลิกภาพที่ควรปรับปรุง บุคลิกภาพของบุคคลโดยทั่ว ๆ ไป แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. บุคลิกภาพภายนอก
2. บุคลิกภาพภายใน
การปรับปรุงบุคลิกภาพภายนอก
การปรับปรุงบุคลิกภายนอก หมายถึง สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัด หรือ สัมผัสได้ การปรับปรุงแก้ไขก็ทำได้ง่าย ใช้เวลาน้อย และวัดผลได้ทันที ได้แก่รูปร่างหน้าตาการปรับปรุงการแต่งกายการปรับปรุงในเรื่องการติดต่อสื่อสารการปรับปรุงการพูดการปรับปรุงการฟังการปรับปรุงบุคลิกภาพภายในการปรับปรุงบุคลิกภาพภายใน หมายถึง สิ่งที่มองไม่เห็น และ สัมผัสยาก ต้องมีโอกาสทำงานร่วมกัน หรืออยู่ด้วยกันนานๆ บุคลิกภาพภายในจึงจะแสดงออกมา การแก้ไขเปลี่ยนแปลงค่อนข้างยาก ใช้เวลานาน และวัดผลลำบากบุคลิกภาพภายนอก ได้แก่ความกระตือรือล้นความซื่อสัตย์ความสุภาพความร่าเริงและความร่วมมือความแนบเนียนความยับยั้งชั่งใจความจริงใจจินตนาการ
6. กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
ในองค์กรด้วยการสร้างบรรยากาศในการทำงานความหมายของกลยุทธ์ในองค์กร กลยุทธ์ขององค์กร หมายถึง การที่องค์กรได้แสดงความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม โดยใช้วิธีการริหารที่องค์กรไปเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่มีกลุ่มต่าง ๆ ตัวบุคคล องค์กรอื่นและสถาบันประเภทอื่นทั้งหลายที่อยู่ภายในองค์กรและนอกองค์กรการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพมีเรื่องที่สำคัญที่ต้องพิจารณา 2 ประการคือ
ประการแรก ผู้บริหารต้องเข้าใจถึงลักษณะสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
ประการที่สอง ผู้บริหารต้องเข้าใจว่า องค์กรสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมอย่างไร โดยพิจารณาในแง่ของการพิจารณาปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ตามความหมายของพฤติกรรมองค์กรการจัดชุดของทรัพยากรที่จะใช้งานในองค์กร ในการจัดชุดทรัพยากรเพื่อใช้ในการบริหาร องค์กรจะมีวิธีการจัดที่แตกต่างกันออกไป โดยทรัพยากรต่าง ๆ สามารถที่จะนำมาพลิกแพลงและจัดทำขึ้นเพื่อสนองต่อแผนงานในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปสุดแต่ความเหมาะสม
กลยุทธ์การบริหารที่ทรงคุณภาพนี้ คือ การมีประสิทธิผล ที่สามารถกำหนดเป้าหมายที่ดี และสามารถบรรลุผลสำเร็จในเป้าหมายนั้นๆ ได้ และการมีประสิทธิภาพ ที่สามารถทำสำเร็จในเป้าหมายเหล่านั้น โดยมีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดด้วย ลักษณะของกลยุทธ์การบริหารที่ทรงประสิทธิภาพที่จะทำให้การบริหารสามารถประสบผลสำเร็จได้อย่างดีในทุกสถานการณ์
เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมกลยุทธ์การบริหาร การบริหารเชิงรวมที่เป็นภารกิจทางการบริหารของผู้บริหาร บรรรยากาศในองค์กรบรรยากาศในองค์กร จะมีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารองค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนี้ความไว้วางใจ ความเชื่อถือ และความมั่นคงของบุคลากรทุกระดับการมีส่วมร่วมในการตัดสินใจการให้การสนับสนุนความเปิดเผยในการสื่อสารจากเบื้องบนสู่เบื้องล่างการรับฟังความคิดเห็นจากเบื้องล่างสู่เบื้องบนนักวิชาการหลายท่านได้เสนอบรรยากาศขององค์กรที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ที่นำไปสู่การลงความคิดเห็นเกี่ยวกับบรรยากาศขององค์กรบรรยากาศในองค์กรและความพึงพอใจในการทำงาน บรรยากาศในองค์กร จะนำไปสู่ความพึงพอใจในการทำงาน เมื่อบุคลากรมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นอย่างดี มีความไว้เนื้อเชื่อใจกันและกันสูง ย่อมส่งผลถึงการมีบรรยากาศในการทำงาน มีความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้น ผลงานดีขึ้น โดยที่บุคลากรไม่เบื่อหน่ายในการทำงาน และปฎิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดีการสร้างบรรยากาศในองค์กรกับความก้าวหน้าของบุคลากร
7. การสื่อสารในองค์กรความหมายของการสื่อสารในองค์กร
การสื่อสารในองค์กร หมายถึง กระบวนการในการแลกเปลี่ยนข่าวสารของหน่วยงานกับบุคลากรทุกระดับภายในองค์กร ซึ่งมีความสัมพันธ์กันภายใต้สภาพแวดล้อม บรรยากาศขององค์กร และสังคม ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสถาณการณ์กระบวนการสื่อสารการสื่อสารให้เป็นระบบแล้ว คงจะช่วยให้เข้าใจการสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ กระบวนการสื่อสารประกอบด้วยแหล่งข้อมูล คือ แหล่งที่มาของงข้อมูลข่าวสาร หรือเป็นต้นตอของแหล่งข้อมูลข่าวสารนั่นเอง

ข่าวสาร คือ เนื้อหาสาระที่ต้องส่งไปผู้ส่ง คือ บุคคลที่จะเป็นผู้ดำเนินการส่งข่าวสาร
ผู้รับ คือ ผู้เป็นเป้าหมายในการรับข่าวสาร ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการสื่อสารประเภทของสื่อที่ใช้ในการสื่อสารในองค์กรสื่อหรือช่องทาง ใช้เพื่อให้ข่าวสารนั้นไหลหรือถูกพาไปยังผู้รับสาร พอจะแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้ประเภทการใช้ภาษา ได้แก่ การพูด คำพูด ซึ่งการใช้ภาษานับว่าเป็นการสื่อสารที่ใช้กันมากประเภทไม่ใช้ภาษา ได้แก่ สัญลักษณ์ การเขียนข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายต่างๆ เป็นต้นประเภทอาศัยการแสดง/พฤติกรรมรูปแบบของการสื่อสาร การสื่อสารโดยทั่วๆ ไปแล้ว สามารถแยกรูปแบบออกได้ดังนี้การสื่อสารภายในตัวบุคคลการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลการสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ แบบนี้ไม่มีให้เห็นมากนัก แต่ก็มีบางงานใช้การสื่อสารภายในองค์กรการสื่อสารมวลชนลักษณะการสื่อสารในองค์กร ลักษณะการสื่อสารในองค์กร โดยทั่วๆไปจะมีรูปแบบอยู่ 3 ลักษณะ คือ  การสื่อสารระหว่างบุคคล หมายถึง การสื่อสารกันระหว่างพนักงานต่อพนักงาน หรือระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เป็นต้น
การสื่อสารระหว่างหน่วยงานราชการ หมายถึง การสื่อสารกันระหว่างหน่วยงาน ภายในองค์กร
การสื่อสารระหว่างองค์กร หมายถึง การติดต่อที่เกิดขึ้นระหว่างองค์กรต่อองค์กรจุดมุ่งหมายของการสื่อสารในองค์กรการสื่อสารในองค์กรที่เกิดขึ้นเพื่อการประสานงาน และสร้างความเข้าใจต่อกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายฉะนั้น พอจะสรุปจุดมุ่งหมายได้ดังนี้เพื่อการควบคุมการปฏิบัติงานได้ดีขึ้นเพื่อการให้ข้อมูลที่เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจเพื่อการจูงใจและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจกันทำงานในองค์กรเพื่อการแสดงออกซึ่งความรู้สึกต่างๆ เพื่อให้หัวหน้าหรือพนักงานด้วยกันมีความเข้าใจกันเทคนิคการสื่อสารในองค์กร เทคนิคในการสื่อสาร จะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ
1. เทคนิคการสื่อสารจากระดับบนสู่ล่าง ได้แก่ การสื่อสารจากผู้บังคับบัญชาลงสู่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
2. เทคนิคการสื่อสารจากระดับล่างสู่บน ได้แก่ การศึกษาจากผู้ใต้บังคับบัญชา ติดต่อขึ้นตามคำสั่ง ตามลำดับขั้น จนถึงผู้บังคับบัญชา
3. เทคนิคการสื่อสารระดับเดียวกัน เช่น ระหว่างเพื่อนร่วมงาน บุคคลในระดับเดียวกันรูปแบบของเครือข่ายการติดต่อสื่อสาร ในการจัดเครือข่ายการสื่อสาร เพื่อให้มีการติดต่อสื่อสารกัน สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1. แบบลูกโซ่ (Chain) เป็นเครือข่ายที่พบความผิดพลาดอยู่เสมอ
2. แบบวงล้อหรือดาว (Wheel or Star) เป็นเครือข่ายของการประสานงาน
3. แบบเผด็จการแบบวงกลม (Circle) เป็นการติดต่อข่าวสารกันแบบต่อเนื่องกัน     
4. แบบว่าว (Kite) เป็นการติดต่อที่ผสมผสานกันทั้งแบบลูกโซ่และแบบวงล้อแบบทุกช่องทาง        (All Channel) เป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่มีการประสารกันได้ทุกจุด ทำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดหลักสำคัญในการติดต่อสื่อสารที่ดี                   
อ้างอิง       :  https://sites.google.com/site/project30000102/home/neuxha


การจัดการความเสี่ยง






        สำหรับองค์กร การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ และก็ยิ่งเป็นการยากสำหรับผู้บริหารที่จะทราบว่ามีปัญหาอะไรรออยู่ในอนาคตบ้าง ดังนั้นธุรกิจจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการอย่างเป็นระบบเพื่อที่จะให้ทราบว่าธุรกิจจะเผชิญปัญหาอะไรและจะหาทางป้องกันอย่างไรเพื่อให้ความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นมีผลกระทบต่อธุรกิจน้อยที่สุด ดังนั้นการจัดการความเสี่ยงจึงหมายถึง กระบวนการวางแผนการบริหารและการจัดการความเสี่ยง เพื่อช่วยในการตัดสินใจของบุคคลหรือธุรกิจใดๆในอันที่จะหาวิธีการที่ดีที่สุด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอนต่อการประสบกับเหตุการณ์ หรือ สภาวะที่เราต้องเผชิญกับสถานการณ์อันไม่พึงประสงค์โดยมีความน่าจะเป็น หรือโอกาสในสิ่งนั้นๆมากกว่าศูนย์

        การจัดการความเสี่ยง หรือ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) คือ กระบวนการในการระบุ (Risk Identification) วิเคราะห์ (Risk analysis) ประเมิน (Risk assessment) ดูแลตรวจสอบและควบคุมความเสี่ยง (Risk Control) ที่สัมพันธ์กับกิจกรรม หน้าที่และกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด อันเนื่องมาจากภัยที่องค์กรต้องเผชิญในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
 


นิยามของความเสี่ยง
ความเสี่ยงมีความหมายในหลากหลายแง่มุม เช่น ความเสี่ยง


แนวทางในการบริหารความเสี่ยง ซึ่งโดยปกติจะประกอบด้วย

            1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการความเสี่ยงของบริษัท (Objective) และการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดที่แต่ละองค์กรจะต้องสามารถวิเคราะห์ (Risk Analysis) และกำหนดให้ได้ว่าองค์กรหรือหน่วยงานใดในองค์กรต้องเผชิญกับความเสี่ยงใดบ้าง (Risk Identification) ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอาจมีขนาดและผลกระทบที่แตกต่างกัน (Risk Estimation) โดยที่ความเสี่ยงบางประเภทอาจจะมีโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิด (Likelihood) ตั้งแต่น้อยมาก (Rare) จนไปถึงมีความเป็นไปได้สูง (Almost Certain) รวมถึงผลกระทบที่ตามมาจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้น (Consequence) อาจมีตั้งแต่ระดับน้อยมาก (Insignificant) ในขณะที่ความเสี่ยงบางประเภทอาจมีแนวโน้มที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรอย่างมหาศาล (Catastrophic) ดังนั้นบุคคลากรในธุรกิจจึงควรที่จะวิเคราะห์และกำหนดความเสี่ยงที่ธุรกิจนั้นเผชิญให้ได้

ยกตัวอย่างเช่นการวิเคราะห์ความเสี่ยงของบริษัทแห่งหนึ่งเกี่ยวกับโอกาสของการเกิดความเสี่ยงจากเหตุการณ์ใดๆและผลกระทบของความเสี่ยงต่อด้านต่างๆ ขององค์กรธุรกิจ ได้แก่ ด้านการเงิน (Financial) ชื่อเสียง (Reputation)การหยุดชะงักขององค์กร (Business Interruption)และบุคลากร(Human)เป็นต้น


อ้างอิง : https://www.gotoknow.org/posts/364878

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

รูปภาพที่เกี่ยวข้องการเพิ่มผลผลิต 









 แนวคิด 

      การเพิ่มผลผลิตในองค์การที่สำคัญ คือ กระบวนการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิต คือ นโยบายของรัฐ ทรัพยากรที่ใช้ รวมทั้งค่านิยมสังคม การเพิ่มผลผลิตที่ดีนั้นองค์การต้องผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการด้วยขั้นตอนและวิธีควบคุมการผลิต การสร้างคุณค่าแลพะความเชื่อถือที่สร้างความพอใจให้กับลูกค้าด้วยคุณภาพที่ดีสม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลถึงการเพิ่มผลผลิตโยรวมขององค์การในที่สุด
 สาระการเรียนรู้ 
1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิต 
2. องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต
3. ขั้นตอนและวิธีการควบคุมการผลิต
4. ประเภทของการผลิต
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง5. กระบวนการผลิต
6. การเพิ่มผลผลลิตโดยรวม  
 ผลการเรียนรุ้ที่คาดหวัง 
1. อธิบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตได้
2. อธิบายองค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิตได้
3. อธิบายขั้นตอนและวิธีการควบคุมการผลิตได้
4. อธิบายประเภทของการผลิตได้
5. อธิบายกระบวนการผลิตได้
6. อธิบายการเพิ่มผลผลลิตโดยรวมได้  

 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิต 
      สภาพแวดล้อมภายนอก (External  Factor)  เกี่ยวข้องโดยตรงส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถในการบรรลุเป้าหมายของการผลิต  องค์การต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก  ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการ  สภาพการณ์แข่งขันของธุรกิจ  ซึ่งมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการเพิ่มผลผลิต  องค์การที่มีการดำเนินงานลักษณะซับซ้อนบางองค์การได้กำหนดแผนกวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการเพิ่มผลผลิต  โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมภายนอก  ซึ่งผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรค  เพื่อการวางแผนในอนาคต  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตที่สำคัญ  ได้แก่

1. นโยบายของรัฐ  (Policies) หมายถึง  แนวทางที่รัฐกำหนดขอบเขตครอบคลุมถึงเป้าหมายของรัฐ  ในการที่จะเร่งรัดพัฒนาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  ความมั่นคง  การจ้างงานบนพื้นฐานแห่งความเป็นธรรม  และการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่รัฐได้กำหนด  ดังนั้นรัฐจะต้องกำหนดนโยบายส่งเสริมและการกระทำอย่างต่อเนื่องในเรื่องต่างๆ  ดังนี้
1.1 การวางแผนโดยรวมการใช้สาธารณูปโภค  ความคงที่ในเรื่องราคาและฐานภาษี
1.2 การส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อมเพื่อการทดแทนการนำเข้า
1.3 การเปลี่ยนแปลงแบบแผนความต้องการภายในประเทศ
1.4 ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานการแข่งขันอย่างเสรี
1.5 การสร้างความเจริญก้าวหน้า  จะต้องควบคู่ไปกับการศึกษา  และการรักษาสภาพแวดล้อม

2. ทรัพยากรที่ใช้ (Resources) หมายถึง  ทรัพยากรทั้งหลายที่ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่งมีผลกระทบต่อการเพิ่มผลผลิตทั้งสิ้น  ได้แก่
2.1 ทรัพยากรธรรมชาติ
2.2 ทรัพยากรบุคคล  (Human  Resources)  คือ  ความสามารถของกำลังคนในสังคม
2.3 ทรัพยากรทางด้านการเงิน
2.4 เทคโนโลยีทางด้านการผลิต
2.5 การจัดองค์การและการบริหารงานด้านการผลิต

3. ค่านิยมทางสังคมและวัฒนธรรม  จะรวมถึงจริยธรรมในการทำงานและทัศนคติของบุคคล  เช่น  ค่านิยมส่วนบุคคล  (Individual  Values)  และทัศนคติของคนในสังคมที่เรียกว่า  ค่านิยมของสังคม  ซึ่งมีผลต่อการเพิ่มผลผลิตทั้งสิ้น


 องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต 
การผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นองค์การขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กก็ตาม  กิจการจะเจริญเติบโตได้ก็ต่อเมื่อองค์การสามารถเพิ่มความได้เปรียบในเชิงการค้า  การเพิ่มผลผลิตที่ดีนั้นจะต้องประกอบด้วยคุณภาพสินค้าและบริการ  ที่ลูกค้าพึงพอใจตรงตามความต้อกงต้องการ  การผลิตจะต้องผลิตด้วยต้นทุนที่ต่ำและส่งมอบให้ลูกค้าได้ทันเวลา  พนักงานต้องมีความปลอดภัยและมีขวัญกำลังใจที่ดีในการทำงาน  การผลิตต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม  รวมทั้งผู้ประกอบการต้องมีจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ  การเพิ่มผลผลิตที่ดีนั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ  7  ประการ  คือ  Q  C D  S  M  E  E
Q  :  Quality  คุณภาพ
คุณภาพ  หมายถึง  ข้อกำหนด (Specification)  ของสินค้าที่องค์การหรือบริษัทหรือผู้ขายเป็นผู้กำหนดขึ้น  ปัจจุบันคุณภาพหมายถึง  สิ่งที่ลูกค้าต้องการหรือพึงพอใจ (Satisfaction)
C  : Cost  ต้นทุน
ต้นทุน  หมายถึง  ค่าใช้จ่าย  ที่จ่ายไปเพื่อดำเนินการผลิตสินค้าหรือบริการ  ต้นทุนจะเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่การวางแผน  การออกแบบผลิตภัณฑ์  กระบวนการผลิต  การทดสอบ  การจัดเก็บ  การขนส่ง  จนกระทั่งสินค้าพร้อมที่จะจัดส่งมอบให้กับลูกค้า
D : Delivery การส่งมอบ
ารส่งมอบ  หมายถึง  การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ให้สามารถผลิตเป็นสินค้าหรือบริการให้ถึงมือลูกค้าตรงตามเวลาที่กำหนด  โดยวิธีการทำให้หน่วยงานผลิต และส่งชิ้นงานไปยังหน่วยงานต่อไปได้โดยไม่ล่าช้า  เพื่อที่จะส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตามกำหนดเวลาที่ลูกค้าต้องการ
S  :  Safety  ความปลอดภัย
ความปลอดภัย  หมายถึง  สภาวการณ์ที่ปราศจากอุบัติเหตุ  หรือสภาวะที่ปราศจากภัยซึ่งก่อให้เกิดบาดเจ็บหรือสูญเสีย  นอกจากนั้นยังรวมถึงการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากระบวนการผลิต  และการดำเนินงานให้สูญเสียน้อยที่สุด  เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น
M  :  Morale  ขวัญและกำลังใจในการทำงาน
ขวัญและกำลังใจในการทำงาน  หมายถึง  สภาพทางจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน  ความรู้สึกนึกคิดที่ได้รับอิทธิพลจากแรงกดดันหรือสิ่งเร้าจากปัจจัยหรือสภาพแวดล้อมในองค์การที่อยู่รอบตัว  และจะมีปฏิกิริยาโต้กลับ  คือ  พฤติกรรมในการทำงานซึ่งมีผลโดยตรงต่อผลงานของบุคคลนั้น
E  :  Environment  สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม  หมายถึง  แรงผลักดันต่างๆ  ที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตขององค์การการผลิตที่ดีจะต้องมีความรับผิดชอบ  ไม่สร้างมลพิษและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม  ปัจจุบันถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากเนื่องจากประเทศต่างๆ  มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อจะแข่งขันได้ในตลาดโลก  ซึ่งการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมส่งผลกระทบมากมายต่อสิ่งแวดล้อม
E  :  Ethics  จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ  หมายถึง  มาตรฐานการปฏิบัติ  หรือการวินิจฉัยของผู้บริหารที่ไม่เบียดเบียนหรือเอาเปรียบผู้อื่นโดยไม่เป็นธรรม  ผู้อื่นหมายความถึงตั้งแต่ผู้ขาย  ผู้ถือหุ้น  พนักงาน  คู่แข่งขัน  สังคมและสิ่งแวดล้อม

 องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต  สามารถจัดแยกออกได้ดังนี้ 
QCD  เป็นการเพิ่มผลผลิตเพื่อลูกค้า  คือผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามที่ลูกค้ากำหนด  การควบคุมคุณภาพการผลิต  การจัดส่งที่ตรงเวลา  เพื่อความมั่นใจให้กับลูกค้า
SM เป็นการเพิ่มผลผลิตเพื่อประโยชน์ของพนักงาน  คือ  ทำอย่างไรให้พนักงานเกิดความรู้สึกปลอดภัยในขณะทำงานและเกิดขวัญกำลังใจในการผลิต
EE  เป็นการเพิ่มผลผลิตเพื่อสังคม  คือ  ทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานจากสิ่งแวดล้อมภายในโรงงาน  แก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เคยมีให้หมดไป  เป็นการเพิ่มผลผลิตโดยรวมของชาติบนพื้นฐานคุณธรรมและความยั่งยืน

 ขั้นตอนและวิธีการควบคุมการผลิต 
      การควบคุมการผลิต (Production  Control) คือ  กิจกรรมกำกับดูแลให้การทำงานเป็นไปตามกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ  ถูกต้องตามแบบผลิตในเวลาอันสั้นและได้ปริมาณมากที่สุด  ผลิตภัณฑ์มีการบกพร่องน้อยที่สุด  กิจกรรมการควบคุมการผลิตเริ่มตั้งแต่ปัจจัยนำเข้ากระบวนการผลิต  จนสำเร็จออกมาเป็นผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ดังแสดงไว้ในแผนภูมิ
1. เพื่อกำกับให้ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐาน  โดยคำนึงถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  กิจกรรมที่ใช้ในการควบคุมการผลิตนี้จะเกี่ยวกับการศึกษาเวลา  การเคลื่อนไหวการตรวจสอบ  ทำอย่างไรจึงให้มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
2. เพื่อป้องกันรักษาทรัพย์สินขององค์การ  โดยพิจารณาถึงการป้องกันไม่ให้ทรัพย์สินขององค์การถูกนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ด้วยเหตุนี้  จึงต้องมีการแบ่งแยกหน้าที่กันรับผิดชอบและมีการจัดระบบการเก็บข้อมูล
3. เพื่อกำกับให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐาน  องค์การจะต้องทำการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์  ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี  เช่น  การตรวจสอบคุณลักษณะ  การใช้หลักสถิติเพื่อการควบคุมคุณภาพ
4. เพื่อใช้วัดงานต่างๆ  ที่กำลังปฏิบัติอยู่ซึ่งการควบคุม  ได้แก่  ตัวเลขที่แสดงผลการผลิตต่อหน่วยเวลา  การเปรียบเทียบต้นทุนล้วนแต่เป็นเครื่องมือตรวจสอบผลงานที่กำลังปฏิบัติอยู่ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือไม่
5. เพื่อใช้ประกอบในการวางแผนและกำหนดแผนการปฏิบัติงานต่างๆ  ซึ่งได้วางมาตรการควบคุมก่อนเริ่มต้นการทำงานแล้ว
6. เพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถจัดความสมดุลในระหว่างแผนงานกลุ่มต่างๆ  และเพื่อใช้เงินทุนให้เกิดผลกำไรสูงสุด
7. เพื่อกำหนดขอบเขตผู้ปฏิบัติงานต่างๆ  ในการปฏิบัติงาน  วิธีนี้จะเป็นเครื่องมือวัดอย่างหนึ่งในการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามมาตรฐานเพียงใด  ผู้ปฏิบัติงานได้ผลดีย่อมได้ผลตอบแทนเพิ่ม  ซึ่งเป็นมาตรฐานที่องค์การยึดถือปฏิบัติ
ขั้นตอนการควบคุมการผลิต  จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิต  ซึ่งขั้นตอนและวิธีการผลิตจะถูกกำหนดเป็นระยะของการควบคุมการผลิตพอสรุปได้ดังนี้
1. ขั้นบันทึกรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต  กำหนดแผนการผลิต  อาจเสนอเป็นแผนภูมิการกำหนดแผนการผลิตโดยรวม
2. ขั้นวิเคราะห์เปรียบเทียบการผลิตกับแผนงาน  ว่าจำนวนการผลิตมากน้อยเพียงใดกับเวลาการดำเนินงาน
3. ขั้นหาแนวทางแก้ไข  ปรับปรุง  หรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตให้ผลผลิตออกมาเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
4. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้เปรียบเทียบการผลิตครั้งก่อน  ถือว่าเป็นการประเมินผลการผลิต  เพื่อให้เกิดผลดีกับกระบวนการผลิตครั้งต่อไป

 ประเภทของการผลิต 
      อุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ  ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับการนำเอาวัตถุดิบซึ่งมักจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติมาผ่านกระบวนการแปรรูป  หรือทำการผลิตโดยใช้แรงงานคนและเครื่องจักแล้วส่งผ่านเพื่อนำไปแปรรูปหรือผลิตในขั้นตอนต่อๆ  ไป  จนได้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปขั้นสดสุดท้าย
ประเภทของการผลิต  หมายถึง  การแบ่งประเภทตามลักษณะหรือรูปแบบของกระบวนการผลิตสินค้าที่สำคัญ  ได้แก่
1. การผลิตตามความต้องการของลูกค้าหรือผลิตตามสั่ง (Customer-Built  of  Job  Shop  Process) การผลิตลักษณะนี้ผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทที่ผลิตจะมีจำนวนน้อยและผลิตตามลูกค้าเท่านั้น
2. การผลิตเป็นชุด  หรือผลิตเป็นครั้งคราว (Batch  of  Intermittent  Process) การผลิตเป็นสินค้าที่แตกต่างกันหลายชนิด  ซึ่งแต่ละชนิดจะผลิตจำนวนน้อย
3. การผลิตแบบกระบวนการหรือผลิตแบบต่อเนื่อง (Process  of  Continuos  Process) การผลิตจะเป็นการผลิตสำค้าจำนวนไม่กี่ชนิด  แต่ละชนิดผลิตจำนวนน้อย
4. การผลิตแบบซ้ำๆ (Repetitive  Process) การผลิตแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับการผลิตแบบต่อเนื่อง  แต่การผลิตซ้ำๆ  บ่อยครั้งกว่า
5. การผลิตประเภทที่รัฐควบคุม  เป็นการผลิตที่รัฐควบคุมโดยมีหลักเกณฑ์บังคับเข้มงวด  เช่น  อาหาร  พลังงาน  ยารักษาโรค  อาวุธสงคราม  สินค้าด้านสุขภาพอนามัยและสาธารณูปโภค
คุณลักษณะการผลิตที่เหมือนกัน  ผู้บริหาร  ผู้จัดการ  ส่วนมากแล้วมักจะเชื่อกันว่า  องค์การแต่ละแห่งจะมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากองค์การอื่นๆ  ทำให้แต่ละองค์การต้องมีกิจกรรมพื้นฐานที่แตกต่างกันไป  เช่น วัตถุประสงค์พื้นฐานการวัดผลการทำงาน  ความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้ส่งมอบ  กิจกรรมภายในและระบบต่างๆ  จะถูกนำมาใช้ในการวางแผนและควบคุมกระบวนการได้คล้ายๆ  กัน  การละเลยหรือไม่ข้าใจลักษณะที่เหมือนๆ  กันเช่นนี้  จะเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการเจริญเติบโตขององค์การ  องค์การจึงต้องให้ความสนใจในความเหมือนกัน  หรือคุณลักษณะร่วมเป็นสำคัญ
วัตถุประสงค์พื้นฐานของการผลิตจะคล้ายคลึงกัน  ถึงแม้ว่าวัตถุประสงค์ของแต่ละองค์การใช้บุคลากรที่มีความชำนาญ  และมีความสามารถพิเศษในการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์  เพื่อใช้ทำการผลิตซึ่งทุกอย่างล้วนแต่เข้าสู่กระบวนการแปรรูปวัสดุ  หรือวัตถุดิบที่มีราคาต่ำให้เป็นสินค้า  หรือผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงขึ้น   โดยการเพิ่มคุณค่าในทุกขั้นตอนของการแปรรูปหรือกระบวนการผลิต

 กระบวนการผลิต 
       กระบวนการผลิต (Production  Process) หมายถึง  ขั้นตอนการทำงานด้านการผลิตและการบริการที่แสดงถึง  รายละเอียดลำดับขั้นตอนของการเปลี่ยนสถาน  ปัจจัยนำเข้าให้เป็นผลผลิตองค์การต้องพิจารณาการผลิตให้เป็นกระบวนการที่ครอบคลุมตั้งแต่การส่งมอบ  (Suppliers) ผ่านกระบวนการต่างๆ  ของการผลิตทั้งหมด  เรื่อยไปจนสิ้นสุดถึงมือลูกค้า  (Customers)โดยสามารถตรวจสอบคุณภาพ (Inspection) ที่จะทำให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพอดีสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค

 แสดงกระบวนการผลิตสินค้าขององค์การ 
      การบริหารการผลิตจะมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น  เมื่อขั้นตอนกระบวนการผลิตไหลอย่างต่อเนื่องไม่ติดขัด  และมีระบบที่ง่ายๆ  ไม่ยุ่งยาก  โดยเฉพาะในการผลิตที่ยิ่งมีระบบย่อย  หรือแยกส่วนมากเท่าใด  ก็จะมีปัญหามากขึ้นเท่านั้น



      กิจกรรมการผลิตมีขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยาก  จะเห็นได้จากการจัดการผลิตภัณฑ์  เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต  แหล่งกำเนิดพลังงาน  การตลาด  ช่องทางการจำหน่ายและการส่งมอบสินค้า  กิจกรรมทั้งหมดนี้จะแตกต่างกัน
เทคโนโลยีที่ซับซ้อน  พนักงานจำเป็นต้องมีทักษะความชำนาญอย่างมาก  การผลิตลักษณะนี้จะผลิตได้อย่างรวดเร็ว  ทันต่อเหตุการณ์  โดยมีการคำนวณปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ  มีลักษณะการทำงานสอดคล้องกัน  การจัดการสินค้าคงคลัง  และการควบคุมการผลิตจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจในสาขาเหล่านั้น  ผู้บริหารการผลิตหรือผู้จัดองค์การจะต้องมอบหมายความรับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตหรือการปฏิบัติงานให้อยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ
ฝ่ายที่สำคัญในองค์การ  ได้แก่  ฝ่ายการตลาด  ฝ่ายวิศวกรรม  และฝ่ายการผลิต  ซึ่งมักจะถูกแบ่งแยกหน้าที่ออกจากกันอย่างชัดเจน  และทำงานกันอย่างอิสระโดยไม่ขึ้นต่อกัน  ปัญหาที่ฝ่ายการตลาดและฝ่ายวิศวกรรมต้องเผชิญ  โดยมากมักจะไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง  ส่วนฝ่ายการผลิตมักจะสามารถแก้ปัญหาได้เอง  ถ้าองค์การการผลิตขาดความสนใจระบบการผลิตไม่พิจารณาถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการประสานความร่วมมือกันทั้งสามฝ่าย  ผู้บิบริหารอาจคิดไม่ถึงว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละฝ่ายจะเกิดจากฝ่ายอื่นๆ  การแบ่งแยกหน้าที่งานของฝ่ายต่างๆ  ออกจากกันเช่นนี้จะปรากฏให้เห็นได้ทั่วไปทุกองค์การ  แสดงให้เห็นว่า  องค์การการผลิตเหล่านั้นขาดความเข้าใจในเรื่องของ  “กระบวนการผลิต” และวิธีการเพิ่มผลผลิตอย่างแท้จริง

 การเพิ่มผลผลผลิตโดยรวม   
      การเพิ่มผลผลิตโดยรวม    ผลรวมของการเพิ่มผลผลิตด้านต้นทุนและการเพิ่มผลผลิตด้านทรัพยากรบุคคล  ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงขององค์การและของชาติโดยรวม  การเพิ่มผลผลิตโดยรวมมีปัจจัยสำคัญ  2  ประการ  คือ

1. การเพิ่มผลผลิตของทุน (Capital  Productivity)   การเพิ่มผลผลิตของทุน  ส่วนหนึ่งของการวัดเพิ่มผลผลิตคือ  ดูจากจำนวนรายได้ที่ได้รับการลงทุนโดยเปรียบเทียบกับเงินทุนที่ต้องจ่ายไป  อัตราส่วนที่ใช้ในการพิจารณามีดังนี้

การเพิ่มผลผลิต      =       จำนวนเงินที่ได้รับ
       จำนวนเงินทุนที่นำไปลงทุน

การเพิ่มผลผลิตทุนทำได้  2  ลักษณะ  คือ
1.1  เครื่องจักร (Machine) หมายถึง  เครื่องจักรซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการผลิตทั้งระบบอัตโนมัติ  คอมพิวเตอร์  ตลอดจนหุ่นยนต์ในการผลิต
1.2  เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง  การนำวิธีการต่างๆ  มาใช้ในการผลิต  ได้แก่  การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์และการผลิต  รวมทั้งการประยุกต์ใช้วิธีการทางวิศวกรรม

2. การเพิ่มผลผลิตกำลังคน  เป็นการเพิ่มผลผลิตจากการใช้ทรัพยากรบุคคล  ซึ่งมีปัจจัยสำคัญ  ได้แก่
2.1 การวางแผนกำลังคน (Manpower  Planning) คือ  การวางแผนกำลังคนเพื่อประสิทธิภาพในการผลิตโดยจะกำหนดจำนวนบุคลากร  การใช้ประโยชน์จากบุคลากร  การเพิ่มศักยภาพของคน  หากองค์การมีการวางแผนเรื่องกำลังคนไว้อย่างเหมาะสม  การปรับปรุงการเพิ่มผลิลลิตก็สามารถทำได้ง่าย


2.2 สัมพันธภาพของพนักงานและฝ่ายจัดการ (Labor  Management  Relation) เรื่องที่จำเป็นสำหรับการเพิ่มผลผลิต  ถึงแม้ว่าองค์การจะมีเครื่องจักรที่ดีและทันสมัยที่สุด  และพนักงานได้รับการอบรมอย่างดีก็ตาม  แต่ก็อาจจะทำงานได้ไม่ดีนัก  ถ้าสัมพันธภาพระหว่างพนักงานกับฝ่ายจัดการไม่ดี
2.3 ทัศนคติในการทำงาน (Work  Attitude) เป็นการหาแนวทางที่จะทำให้พนักงานทุกคนในองค์การมีทัศนคติที่ดีในการทำงานเห็นความสำคัญที่จะปรับปรุงการปฏิบัติงานต่างๆ  ให้ดีอยู่เสมอ  ถ้าหากพนักงานทุกคนมีทัศนคติที่ดีแลชะมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตจะเกิดประโยชน์ต่อองค์การอย่างมาก  ทัศนคติในการทำงานจะเกี่ยวพันกับสิ่งต่างๆ  คือ  ความมีระเบียบวินัยการตรงต่อเวลา  การปฏิบัติตามกฎ  และการรักษาความสะอาดเรียบร้อยของสถานที่ทำงาน  ความตั้งใจที่จะร่วมมือระหว่างพนักงานและการทำงานเป็นทีม
2.4 ระดับทักษะของแรงงาน (Level  of  Skill) ปัจจุบันสภาพแวดล้อมในการผลิตเปลี่ยนแปลงไป   เทคโนโลยีใหม่ๆ  ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการทำงาน  จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานและทักษะที่ยากขึ้น  เพื่อให้พนักงานพร้อมที่จะรับเทคโนโลยีใหม่ๆ  นำมาใช้ผลิตสินค้าและบริการให้ดีขึ้น  ดังนั้น  การอบรมทักษะให้พนักงานมีความรู้ในหลายอย่าง (Multiskill-Beside) เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเพิ่มผลผลิต
2.5 การบริหารการเพิ่มผลผลิต (Productivity  Management) การเพิ่มผลผลิตจะต้องมีการบริหารงานอย่างเป็นระเบียบ  มีกฎมีระเบียบเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  การบริหารกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตในองค์การจำเป็นต้องมีการวางแผน  การจัดรูปแบบวิธีการ  การสื่อสาร  การจูงใจ  เพื่อรวมพลังความสามารถของบุคลากรในองค์การในการพัฒนาปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่อง
2.6 การประกอบการ (Entrepreneurship) ลักษณะของผู้ประกอบการมีความชำนาญสามารถปฏิบัติการสร้างความคิดริเริ่มใหม่ๆ  สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่หรือปรับปรุงธุรกิจในสภาพปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่าทั้ง  6  ประการที่กล่าวมานี้  จะส่งผลกระทบต่อการเพิ่มผลผลิต  การเพิ่มผลผลิตโดยรวม  จึงเป็นผลจากการเพิ่มผลผลิตทางด้านทุน  และทรัพยากรบุคคล  ถ้าการเพิ่มผลผลิตโดยรวมขององค์การดีแล้ว  ก็จะส่งผลดีต่อทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการ  พนักงาน  ผู้บริโภค และของประเทศอีกด้วย


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนดุ๊กดิ๊ก png