วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

รูปภาพที่เกี่ยวข้องการเพิ่มผลผลิต 









 แนวคิด 

      การเพิ่มผลผลิตในองค์การที่สำคัญ คือ กระบวนการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิต คือ นโยบายของรัฐ ทรัพยากรที่ใช้ รวมทั้งค่านิยมสังคม การเพิ่มผลผลิตที่ดีนั้นองค์การต้องผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการด้วยขั้นตอนและวิธีควบคุมการผลิต การสร้างคุณค่าแลพะความเชื่อถือที่สร้างความพอใจให้กับลูกค้าด้วยคุณภาพที่ดีสม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลถึงการเพิ่มผลผลิตโยรวมขององค์การในที่สุด
 สาระการเรียนรู้ 
1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิต 
2. องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต
3. ขั้นตอนและวิธีการควบคุมการผลิต
4. ประเภทของการผลิต
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง5. กระบวนการผลิต
6. การเพิ่มผลผลลิตโดยรวม  
 ผลการเรียนรุ้ที่คาดหวัง 
1. อธิบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตได้
2. อธิบายองค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิตได้
3. อธิบายขั้นตอนและวิธีการควบคุมการผลิตได้
4. อธิบายประเภทของการผลิตได้
5. อธิบายกระบวนการผลิตได้
6. อธิบายการเพิ่มผลผลลิตโดยรวมได้  

 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิต 
      สภาพแวดล้อมภายนอก (External  Factor)  เกี่ยวข้องโดยตรงส่งผลกระทบถึงศักยภาพของการบริหารองค์การและความสามารถในการบรรลุเป้าหมายของการผลิต  องค์การต้องประเมินโอกาสและอุปสรรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอก  ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการ  สภาพการณ์แข่งขันของธุรกิจ  ซึ่งมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการเพิ่มผลผลิต  องค์การที่มีการดำเนินงานลักษณะซับซ้อนบางองค์การได้กำหนดแผนกวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการเพิ่มผลผลิต  โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมภายนอก  ซึ่งผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรค  เพื่อการวางแผนในอนาคต  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตที่สำคัญ  ได้แก่

1. นโยบายของรัฐ  (Policies) หมายถึง  แนวทางที่รัฐกำหนดขอบเขตครอบคลุมถึงเป้าหมายของรัฐ  ในการที่จะเร่งรัดพัฒนาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  ความมั่นคง  การจ้างงานบนพื้นฐานแห่งความเป็นธรรม  และการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่รัฐได้กำหนด  ดังนั้นรัฐจะต้องกำหนดนโยบายส่งเสริมและการกระทำอย่างต่อเนื่องในเรื่องต่างๆ  ดังนี้
1.1 การวางแผนโดยรวมการใช้สาธารณูปโภค  ความคงที่ในเรื่องราคาและฐานภาษี
1.2 การส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อมเพื่อการทดแทนการนำเข้า
1.3 การเปลี่ยนแปลงแบบแผนความต้องการภายในประเทศ
1.4 ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานการแข่งขันอย่างเสรี
1.5 การสร้างความเจริญก้าวหน้า  จะต้องควบคู่ไปกับการศึกษา  และการรักษาสภาพแวดล้อม

2. ทรัพยากรที่ใช้ (Resources) หมายถึง  ทรัพยากรทั้งหลายที่ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่งมีผลกระทบต่อการเพิ่มผลผลิตทั้งสิ้น  ได้แก่
2.1 ทรัพยากรธรรมชาติ
2.2 ทรัพยากรบุคคล  (Human  Resources)  คือ  ความสามารถของกำลังคนในสังคม
2.3 ทรัพยากรทางด้านการเงิน
2.4 เทคโนโลยีทางด้านการผลิต
2.5 การจัดองค์การและการบริหารงานด้านการผลิต

3. ค่านิยมทางสังคมและวัฒนธรรม  จะรวมถึงจริยธรรมในการทำงานและทัศนคติของบุคคล  เช่น  ค่านิยมส่วนบุคคล  (Individual  Values)  และทัศนคติของคนในสังคมที่เรียกว่า  ค่านิยมของสังคม  ซึ่งมีผลต่อการเพิ่มผลผลิตทั้งสิ้น


 องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต 
การผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นองค์การขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กก็ตาม  กิจการจะเจริญเติบโตได้ก็ต่อเมื่อองค์การสามารถเพิ่มความได้เปรียบในเชิงการค้า  การเพิ่มผลผลิตที่ดีนั้นจะต้องประกอบด้วยคุณภาพสินค้าและบริการ  ที่ลูกค้าพึงพอใจตรงตามความต้อกงต้องการ  การผลิตจะต้องผลิตด้วยต้นทุนที่ต่ำและส่งมอบให้ลูกค้าได้ทันเวลา  พนักงานต้องมีความปลอดภัยและมีขวัญกำลังใจที่ดีในการทำงาน  การผลิตต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม  รวมทั้งผู้ประกอบการต้องมีจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ  การเพิ่มผลผลิตที่ดีนั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ  7  ประการ  คือ  Q  C D  S  M  E  E
Q  :  Quality  คุณภาพ
คุณภาพ  หมายถึง  ข้อกำหนด (Specification)  ของสินค้าที่องค์การหรือบริษัทหรือผู้ขายเป็นผู้กำหนดขึ้น  ปัจจุบันคุณภาพหมายถึง  สิ่งที่ลูกค้าต้องการหรือพึงพอใจ (Satisfaction)
C  : Cost  ต้นทุน
ต้นทุน  หมายถึง  ค่าใช้จ่าย  ที่จ่ายไปเพื่อดำเนินการผลิตสินค้าหรือบริการ  ต้นทุนจะเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่การวางแผน  การออกแบบผลิตภัณฑ์  กระบวนการผลิต  การทดสอบ  การจัดเก็บ  การขนส่ง  จนกระทั่งสินค้าพร้อมที่จะจัดส่งมอบให้กับลูกค้า
D : Delivery การส่งมอบ
ารส่งมอบ  หมายถึง  การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ให้สามารถผลิตเป็นสินค้าหรือบริการให้ถึงมือลูกค้าตรงตามเวลาที่กำหนด  โดยวิธีการทำให้หน่วยงานผลิต และส่งชิ้นงานไปยังหน่วยงานต่อไปได้โดยไม่ล่าช้า  เพื่อที่จะส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตามกำหนดเวลาที่ลูกค้าต้องการ
S  :  Safety  ความปลอดภัย
ความปลอดภัย  หมายถึง  สภาวการณ์ที่ปราศจากอุบัติเหตุ  หรือสภาวะที่ปราศจากภัยซึ่งก่อให้เกิดบาดเจ็บหรือสูญเสีย  นอกจากนั้นยังรวมถึงการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากระบวนการผลิต  และการดำเนินงานให้สูญเสียน้อยที่สุด  เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น
M  :  Morale  ขวัญและกำลังใจในการทำงาน
ขวัญและกำลังใจในการทำงาน  หมายถึง  สภาพทางจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน  ความรู้สึกนึกคิดที่ได้รับอิทธิพลจากแรงกดดันหรือสิ่งเร้าจากปัจจัยหรือสภาพแวดล้อมในองค์การที่อยู่รอบตัว  และจะมีปฏิกิริยาโต้กลับ  คือ  พฤติกรรมในการทำงานซึ่งมีผลโดยตรงต่อผลงานของบุคคลนั้น
E  :  Environment  สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม  หมายถึง  แรงผลักดันต่างๆ  ที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตขององค์การการผลิตที่ดีจะต้องมีความรับผิดชอบ  ไม่สร้างมลพิษและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม  ปัจจุบันถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากเนื่องจากประเทศต่างๆ  มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อจะแข่งขันได้ในตลาดโลก  ซึ่งการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมส่งผลกระทบมากมายต่อสิ่งแวดล้อม
E  :  Ethics  จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ  หมายถึง  มาตรฐานการปฏิบัติ  หรือการวินิจฉัยของผู้บริหารที่ไม่เบียดเบียนหรือเอาเปรียบผู้อื่นโดยไม่เป็นธรรม  ผู้อื่นหมายความถึงตั้งแต่ผู้ขาย  ผู้ถือหุ้น  พนักงาน  คู่แข่งขัน  สังคมและสิ่งแวดล้อม

 องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต  สามารถจัดแยกออกได้ดังนี้ 
QCD  เป็นการเพิ่มผลผลิตเพื่อลูกค้า  คือผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามที่ลูกค้ากำหนด  การควบคุมคุณภาพการผลิต  การจัดส่งที่ตรงเวลา  เพื่อความมั่นใจให้กับลูกค้า
SM เป็นการเพิ่มผลผลิตเพื่อประโยชน์ของพนักงาน  คือ  ทำอย่างไรให้พนักงานเกิดความรู้สึกปลอดภัยในขณะทำงานและเกิดขวัญกำลังใจในการผลิต
EE  เป็นการเพิ่มผลผลิตเพื่อสังคม  คือ  ทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานจากสิ่งแวดล้อมภายในโรงงาน  แก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เคยมีให้หมดไป  เป็นการเพิ่มผลผลิตโดยรวมของชาติบนพื้นฐานคุณธรรมและความยั่งยืน

 ขั้นตอนและวิธีการควบคุมการผลิต 
      การควบคุมการผลิต (Production  Control) คือ  กิจกรรมกำกับดูแลให้การทำงานเป็นไปตามกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ  ถูกต้องตามแบบผลิตในเวลาอันสั้นและได้ปริมาณมากที่สุด  ผลิตภัณฑ์มีการบกพร่องน้อยที่สุด  กิจกรรมการควบคุมการผลิตเริ่มตั้งแต่ปัจจัยนำเข้ากระบวนการผลิต  จนสำเร็จออกมาเป็นผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ดังแสดงไว้ในแผนภูมิ
1. เพื่อกำกับให้ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐาน  โดยคำนึงถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  กิจกรรมที่ใช้ในการควบคุมการผลิตนี้จะเกี่ยวกับการศึกษาเวลา  การเคลื่อนไหวการตรวจสอบ  ทำอย่างไรจึงให้มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
2. เพื่อป้องกันรักษาทรัพย์สินขององค์การ  โดยพิจารณาถึงการป้องกันไม่ให้ทรัพย์สินขององค์การถูกนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ด้วยเหตุนี้  จึงต้องมีการแบ่งแยกหน้าที่กันรับผิดชอบและมีการจัดระบบการเก็บข้อมูล
3. เพื่อกำกับให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐาน  องค์การจะต้องทำการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์  ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี  เช่น  การตรวจสอบคุณลักษณะ  การใช้หลักสถิติเพื่อการควบคุมคุณภาพ
4. เพื่อใช้วัดงานต่างๆ  ที่กำลังปฏิบัติอยู่ซึ่งการควบคุม  ได้แก่  ตัวเลขที่แสดงผลการผลิตต่อหน่วยเวลา  การเปรียบเทียบต้นทุนล้วนแต่เป็นเครื่องมือตรวจสอบผลงานที่กำลังปฏิบัติอยู่ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือไม่
5. เพื่อใช้ประกอบในการวางแผนและกำหนดแผนการปฏิบัติงานต่างๆ  ซึ่งได้วางมาตรการควบคุมก่อนเริ่มต้นการทำงานแล้ว
6. เพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถจัดความสมดุลในระหว่างแผนงานกลุ่มต่างๆ  และเพื่อใช้เงินทุนให้เกิดผลกำไรสูงสุด
7. เพื่อกำหนดขอบเขตผู้ปฏิบัติงานต่างๆ  ในการปฏิบัติงาน  วิธีนี้จะเป็นเครื่องมือวัดอย่างหนึ่งในการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามมาตรฐานเพียงใด  ผู้ปฏิบัติงานได้ผลดีย่อมได้ผลตอบแทนเพิ่ม  ซึ่งเป็นมาตรฐานที่องค์การยึดถือปฏิบัติ
ขั้นตอนการควบคุมการผลิต  จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิต  ซึ่งขั้นตอนและวิธีการผลิตจะถูกกำหนดเป็นระยะของการควบคุมการผลิตพอสรุปได้ดังนี้
1. ขั้นบันทึกรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต  กำหนดแผนการผลิต  อาจเสนอเป็นแผนภูมิการกำหนดแผนการผลิตโดยรวม
2. ขั้นวิเคราะห์เปรียบเทียบการผลิตกับแผนงาน  ว่าจำนวนการผลิตมากน้อยเพียงใดกับเวลาการดำเนินงาน
3. ขั้นหาแนวทางแก้ไข  ปรับปรุง  หรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตให้ผลผลิตออกมาเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
4. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้เปรียบเทียบการผลิตครั้งก่อน  ถือว่าเป็นการประเมินผลการผลิต  เพื่อให้เกิดผลดีกับกระบวนการผลิตครั้งต่อไป

 ประเภทของการผลิต 
      อุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ  ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับการนำเอาวัตถุดิบซึ่งมักจะใช้ทรัพยากรธรรมชาติมาผ่านกระบวนการแปรรูป  หรือทำการผลิตโดยใช้แรงงานคนและเครื่องจักแล้วส่งผ่านเพื่อนำไปแปรรูปหรือผลิตในขั้นตอนต่อๆ  ไป  จนได้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปขั้นสดสุดท้าย
ประเภทของการผลิต  หมายถึง  การแบ่งประเภทตามลักษณะหรือรูปแบบของกระบวนการผลิตสินค้าที่สำคัญ  ได้แก่
1. การผลิตตามความต้องการของลูกค้าหรือผลิตตามสั่ง (Customer-Built  of  Job  Shop  Process) การผลิตลักษณะนี้ผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทที่ผลิตจะมีจำนวนน้อยและผลิตตามลูกค้าเท่านั้น
2. การผลิตเป็นชุด  หรือผลิตเป็นครั้งคราว (Batch  of  Intermittent  Process) การผลิตเป็นสินค้าที่แตกต่างกันหลายชนิด  ซึ่งแต่ละชนิดจะผลิตจำนวนน้อย
3. การผลิตแบบกระบวนการหรือผลิตแบบต่อเนื่อง (Process  of  Continuos  Process) การผลิตจะเป็นการผลิตสำค้าจำนวนไม่กี่ชนิด  แต่ละชนิดผลิตจำนวนน้อย
4. การผลิตแบบซ้ำๆ (Repetitive  Process) การผลิตแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับการผลิตแบบต่อเนื่อง  แต่การผลิตซ้ำๆ  บ่อยครั้งกว่า
5. การผลิตประเภทที่รัฐควบคุม  เป็นการผลิตที่รัฐควบคุมโดยมีหลักเกณฑ์บังคับเข้มงวด  เช่น  อาหาร  พลังงาน  ยารักษาโรค  อาวุธสงคราม  สินค้าด้านสุขภาพอนามัยและสาธารณูปโภค
คุณลักษณะการผลิตที่เหมือนกัน  ผู้บริหาร  ผู้จัดการ  ส่วนมากแล้วมักจะเชื่อกันว่า  องค์การแต่ละแห่งจะมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากองค์การอื่นๆ  ทำให้แต่ละองค์การต้องมีกิจกรรมพื้นฐานที่แตกต่างกันไป  เช่น วัตถุประสงค์พื้นฐานการวัดผลการทำงาน  ความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้ส่งมอบ  กิจกรรมภายในและระบบต่างๆ  จะถูกนำมาใช้ในการวางแผนและควบคุมกระบวนการได้คล้ายๆ  กัน  การละเลยหรือไม่ข้าใจลักษณะที่เหมือนๆ  กันเช่นนี้  จะเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการเจริญเติบโตขององค์การ  องค์การจึงต้องให้ความสนใจในความเหมือนกัน  หรือคุณลักษณะร่วมเป็นสำคัญ
วัตถุประสงค์พื้นฐานของการผลิตจะคล้ายคลึงกัน  ถึงแม้ว่าวัตถุประสงค์ของแต่ละองค์การใช้บุคลากรที่มีความชำนาญ  และมีความสามารถพิเศษในการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์  เพื่อใช้ทำการผลิตซึ่งทุกอย่างล้วนแต่เข้าสู่กระบวนการแปรรูปวัสดุ  หรือวัตถุดิบที่มีราคาต่ำให้เป็นสินค้า  หรือผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงขึ้น   โดยการเพิ่มคุณค่าในทุกขั้นตอนของการแปรรูปหรือกระบวนการผลิต

 กระบวนการผลิต 
       กระบวนการผลิต (Production  Process) หมายถึง  ขั้นตอนการทำงานด้านการผลิตและการบริการที่แสดงถึง  รายละเอียดลำดับขั้นตอนของการเปลี่ยนสถาน  ปัจจัยนำเข้าให้เป็นผลผลิตองค์การต้องพิจารณาการผลิตให้เป็นกระบวนการที่ครอบคลุมตั้งแต่การส่งมอบ  (Suppliers) ผ่านกระบวนการต่างๆ  ของการผลิตทั้งหมด  เรื่อยไปจนสิ้นสุดถึงมือลูกค้า  (Customers)โดยสามารถตรวจสอบคุณภาพ (Inspection) ที่จะทำให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพอดีสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค

 แสดงกระบวนการผลิตสินค้าขององค์การ 
      การบริหารการผลิตจะมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น  เมื่อขั้นตอนกระบวนการผลิตไหลอย่างต่อเนื่องไม่ติดขัด  และมีระบบที่ง่ายๆ  ไม่ยุ่งยาก  โดยเฉพาะในการผลิตที่ยิ่งมีระบบย่อย  หรือแยกส่วนมากเท่าใด  ก็จะมีปัญหามากขึ้นเท่านั้น



      กิจกรรมการผลิตมีขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยาก  จะเห็นได้จากการจัดการผลิตภัณฑ์  เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต  แหล่งกำเนิดพลังงาน  การตลาด  ช่องทางการจำหน่ายและการส่งมอบสินค้า  กิจกรรมทั้งหมดนี้จะแตกต่างกัน
เทคโนโลยีที่ซับซ้อน  พนักงานจำเป็นต้องมีทักษะความชำนาญอย่างมาก  การผลิตลักษณะนี้จะผลิตได้อย่างรวดเร็ว  ทันต่อเหตุการณ์  โดยมีการคำนวณปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ  มีลักษณะการทำงานสอดคล้องกัน  การจัดการสินค้าคงคลัง  และการควบคุมการผลิตจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจในสาขาเหล่านั้น  ผู้บริหารการผลิตหรือผู้จัดองค์การจะต้องมอบหมายความรับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตหรือการปฏิบัติงานให้อยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ
ฝ่ายที่สำคัญในองค์การ  ได้แก่  ฝ่ายการตลาด  ฝ่ายวิศวกรรม  และฝ่ายการผลิต  ซึ่งมักจะถูกแบ่งแยกหน้าที่ออกจากกันอย่างชัดเจน  และทำงานกันอย่างอิสระโดยไม่ขึ้นต่อกัน  ปัญหาที่ฝ่ายการตลาดและฝ่ายวิศวกรรมต้องเผชิญ  โดยมากมักจะไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง  ส่วนฝ่ายการผลิตมักจะสามารถแก้ปัญหาได้เอง  ถ้าองค์การการผลิตขาดความสนใจระบบการผลิตไม่พิจารณาถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการประสานความร่วมมือกันทั้งสามฝ่าย  ผู้บิบริหารอาจคิดไม่ถึงว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละฝ่ายจะเกิดจากฝ่ายอื่นๆ  การแบ่งแยกหน้าที่งานของฝ่ายต่างๆ  ออกจากกันเช่นนี้จะปรากฏให้เห็นได้ทั่วไปทุกองค์การ  แสดงให้เห็นว่า  องค์การการผลิตเหล่านั้นขาดความเข้าใจในเรื่องของ  “กระบวนการผลิต” และวิธีการเพิ่มผลผลิตอย่างแท้จริง

 การเพิ่มผลผลผลิตโดยรวม   
      การเพิ่มผลผลิตโดยรวม    ผลรวมของการเพิ่มผลผลิตด้านต้นทุนและการเพิ่มผลผลิตด้านทรัพยากรบุคคล  ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงขององค์การและของชาติโดยรวม  การเพิ่มผลผลิตโดยรวมมีปัจจัยสำคัญ  2  ประการ  คือ

1. การเพิ่มผลผลิตของทุน (Capital  Productivity)   การเพิ่มผลผลิตของทุน  ส่วนหนึ่งของการวัดเพิ่มผลผลิตคือ  ดูจากจำนวนรายได้ที่ได้รับการลงทุนโดยเปรียบเทียบกับเงินทุนที่ต้องจ่ายไป  อัตราส่วนที่ใช้ในการพิจารณามีดังนี้

การเพิ่มผลผลิต      =       จำนวนเงินที่ได้รับ
       จำนวนเงินทุนที่นำไปลงทุน

การเพิ่มผลผลิตทุนทำได้  2  ลักษณะ  คือ
1.1  เครื่องจักร (Machine) หมายถึง  เครื่องจักรซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการผลิตทั้งระบบอัตโนมัติ  คอมพิวเตอร์  ตลอดจนหุ่นยนต์ในการผลิต
1.2  เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง  การนำวิธีการต่างๆ  มาใช้ในการผลิต  ได้แก่  การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์และการผลิต  รวมทั้งการประยุกต์ใช้วิธีการทางวิศวกรรม

2. การเพิ่มผลผลิตกำลังคน  เป็นการเพิ่มผลผลิตจากการใช้ทรัพยากรบุคคล  ซึ่งมีปัจจัยสำคัญ  ได้แก่
2.1 การวางแผนกำลังคน (Manpower  Planning) คือ  การวางแผนกำลังคนเพื่อประสิทธิภาพในการผลิตโดยจะกำหนดจำนวนบุคลากร  การใช้ประโยชน์จากบุคลากร  การเพิ่มศักยภาพของคน  หากองค์การมีการวางแผนเรื่องกำลังคนไว้อย่างเหมาะสม  การปรับปรุงการเพิ่มผลิลลิตก็สามารถทำได้ง่าย


2.2 สัมพันธภาพของพนักงานและฝ่ายจัดการ (Labor  Management  Relation) เรื่องที่จำเป็นสำหรับการเพิ่มผลผลิต  ถึงแม้ว่าองค์การจะมีเครื่องจักรที่ดีและทันสมัยที่สุด  และพนักงานได้รับการอบรมอย่างดีก็ตาม  แต่ก็อาจจะทำงานได้ไม่ดีนัก  ถ้าสัมพันธภาพระหว่างพนักงานกับฝ่ายจัดการไม่ดี
2.3 ทัศนคติในการทำงาน (Work  Attitude) เป็นการหาแนวทางที่จะทำให้พนักงานทุกคนในองค์การมีทัศนคติที่ดีในการทำงานเห็นความสำคัญที่จะปรับปรุงการปฏิบัติงานต่างๆ  ให้ดีอยู่เสมอ  ถ้าหากพนักงานทุกคนมีทัศนคติที่ดีแลชะมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตจะเกิดประโยชน์ต่อองค์การอย่างมาก  ทัศนคติในการทำงานจะเกี่ยวพันกับสิ่งต่างๆ  คือ  ความมีระเบียบวินัยการตรงต่อเวลา  การปฏิบัติตามกฎ  และการรักษาความสะอาดเรียบร้อยของสถานที่ทำงาน  ความตั้งใจที่จะร่วมมือระหว่างพนักงานและการทำงานเป็นทีม
2.4 ระดับทักษะของแรงงาน (Level  of  Skill) ปัจจุบันสภาพแวดล้อมในการผลิตเปลี่ยนแปลงไป   เทคโนโลยีใหม่ๆ  ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการทำงาน  จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานและทักษะที่ยากขึ้น  เพื่อให้พนักงานพร้อมที่จะรับเทคโนโลยีใหม่ๆ  นำมาใช้ผลิตสินค้าและบริการให้ดีขึ้น  ดังนั้น  การอบรมทักษะให้พนักงานมีความรู้ในหลายอย่าง (Multiskill-Beside) เป็นสิ่งจำเป็นต่อการเพิ่มผลผลิต
2.5 การบริหารการเพิ่มผลผลิต (Productivity  Management) การเพิ่มผลผลิตจะต้องมีการบริหารงานอย่างเป็นระเบียบ  มีกฎมีระเบียบเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  การบริหารกิจกรรมการเพิ่มผลผลิตในองค์การจำเป็นต้องมีการวางแผน  การจัดรูปแบบวิธีการ  การสื่อสาร  การจูงใจ  เพื่อรวมพลังความสามารถของบุคลากรในองค์การในการพัฒนาปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่อง
2.6 การประกอบการ (Entrepreneurship) ลักษณะของผู้ประกอบการมีความชำนาญสามารถปฏิบัติการสร้างความคิดริเริ่มใหม่ๆ  สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่หรือปรับปรุงธุรกิจในสภาพปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่าทั้ง  6  ประการที่กล่าวมานี้  จะส่งผลกระทบต่อการเพิ่มผลผลิต  การเพิ่มผลผลิตโดยรวม  จึงเป็นผลจากการเพิ่มผลผลิตทางด้านทุน  และทรัพยากรบุคคล  ถ้าการเพิ่มผลผลิตโดยรวมขององค์การดีแล้ว  ก็จะส่งผลดีต่อทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการ  พนักงาน  ผู้บริโภค และของประเทศอีกด้วย


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูนดุ๊กดิ๊ก png

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

การบริหารงานคุณภาพในองค์กร



ความหมายและขอบข่ายของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร
    ความหมายของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร คือ กระบวนการบริหารงานที่ประกอบด้วย นโยบายคุณภาพ วัตถุประสงค์ คุณภาพ การวาแผนงานคุณภาพ ระบบการบริหารจัดการเชิงคุณภาพ ระบบการตรวจสอบหรือการประเมินผล และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ของพนักงานและของสังคม


หลักการบริหารงานคุณภาพในองค์กร
หลักการพื้นฐานของการบริหารงานคุณภาพในองค์กร ประกอบด้วย


1. มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า คือการมุ่งเน้นที่ลูกค้า โดย
→1.1 สำรวจตรวจสอบและทดสอบความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่ความคาดหวังที่
ลูกค้าต้องการจากองค์กร ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ จนถึงความพึงพอใจเมื่อลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการแล้ว
→1.2 ตรวจาสอบความต้องการของลูกค้า โดยให้ความคาดหวังมีความสมดุลกับ
ความพอใจ
→1.3 ประเมนผลความพึงพอใจของลูกค้าเท่ากับความคาดหวังหรือไม่ ต้อง
ปรับปรุงในเรื่องอะไร
→1.4 สร้างระบบความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับองค์กร เพื่อให้องค์กรได้รับข้อมูล
ความต้องการที่ถูกต้อง โดยการจัดระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
→1.5 สร้างระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ให้ทั่วทั้งองค์กรร่วมตอบสนอง
ความต้องการของลูกค้า (พนักงานทุกคนมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการของลูกค้า)


2. บริหารงานอย่างเป็นผู้นำ (Leadership)
ผู้นำขององค์กรใช้หลักการบริหารอย่างเป็นผู้นำ เพื่อนำทางให้เพื่อนร่วมงานในองค์กรไปสู้เป้าหมายคุณภาพ ทั้งนี้ต้องคงไว้ซึ่งบรรยากาศการทำงานที่มีประสิทธิภาพด้วย แนวทางการบริหารงานอย่างเป็นผู้นำ ได้แก่
    1. กำหนดวิสัยทัศน์ ให้ชัดเจนตรงตามความต้องการของลูกค้า
    2. ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย แล้วสร้างขวัญกำลังให้พนักงานมุ่งมั่นสู้เป้า หมาย
    3. สร้างค่านิยมส่งเสริมคุณภาพในองค์กรด้วยการฝึกอบรม
    4. สร้างคุณค่าการทำงานด้วยการส่งเสริมระบบความร่วมมือให้เกิดขึ้นภายในองค์กร
    5. สร้างจริยธรรมที่ดีในการทำงานด้วยการเป็นแบบอย่างให้พนักงานเห็น
    6. สร้างความเชื่อมั่นขจัดความกลัวและความไม่มั่นคงขององค์กร ด้วยการสร้างความสามัคคี และมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
    7. สร้างความสำเร็จด้วยการจัดทรัพยากรอย่างพอเพียง
    8. สร้างความเข้าใจระหว่างพนักงานกับผู้บริหารด้วยระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

3. การมีส่วนร่วมของพนักงาน (Involvement of people)
สมาชิกทุกคนขององค์กรมีความสำคัญ ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้โดย
เปิดโอกาสให้พนักงานร่วมคิด ร่วมสร้างสรรค์ หรือร่วมปรับปรุงแก้ไขปัญหาการทำงาน มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
→3.1 องค์กรยอมรับความสามารถของพนักงานและบทบาทการมีส่วนร่วมของพนักงาน
→3.2 พนักงานมีความตระหนักในความเป็นเจ้าขององค์กร
→3.3 สร้างกิจกรรมให้พนักงานมีส่วนร่วม
→3.4 สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในบทบาทการมีส่วนร่วมของพนักงาน
→3.5 เปิดโอกาสให้พนักงานำได้เพิ่มพูนประสบการณ์ ความรู้ และทักษะ ทั้งจากภายในองค์กร และภายนอกองค์กร
→3.6 ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของพนักงาน
→3.7 ประเมินผลงาน โดยรวมเอาผลงานความคิดสร้างสรรค์ไว้ด้วยกัน


4. การบริหารโดยกระบวนการ (Process Approach to management)
กระบวนการประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า กระบวานการดำเนินการ และผลลัพธ์จากจากการาดำเนินงาน กระบวนการบริหารงานคุณภาพในองค์กร ไ ด้แก่
→4.1 ปัจจัยนำเข้า คือ ความต้องการของลูกค้า มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน วัดและประเมินตามข้อบ่งชี้ได้ นอกจากนี้ยังต้อง ให้ความสำคัญต่อปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ด้วย
→4.2 กระบวนการดำเนินงาน มีการออกแบบกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอน ให้การดำเนินงานเป็นไปโดยราบรื่น ต่อเนื่อง มีระบบการควบาคุมงาน การฝึกอบรม อุปกรณ์ และวัตถุดิบอย่างเพียงพอ มีการวางแผนการดำเนินงาน โดยกำหนดความรับผิดชอบและหน้าที่อย่างชัดเจน
→4.3 ผลลัพธ์จากการดำเนินงาน มีการประเมินผลลัพธ์ที่ได้ ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและผลกระทบจากภายในและภายนอกขององค์กรที่ส่งผลต่อลูกค้า


5. การบริหารงานอย่างเป็นระบบ (System Approach to management)
คือ การมององค์กรจากโครงสร้าง ที่ประกอบด้วยฝ่ายต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่เฉพาะ แต่การบริหารงานอย่างเป็นระบบ คือความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันให้ระบบความทสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายหรือหน่วยงานมีประสิทธิภาพมากพอจะสร้างผลงานคุณภาพขององค์กร การบริหาร ให้ระบบความสัมพันธ์เกิดประสิทธิภาพทำได้โดย
→5.1 วางโครงสร้างขององค์กรให้เกิดระบบความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือ แบ่งแยกหน้าที่แต่มีความเกี่ยวข้อง
→5.2 สร้างระบบความสัมพันธ์ โดยตั้งจุดประสงค์คุณภาพร่วมกัน
→5.3 กำหนดวิธีการดำเนินงาน ให้เชื่อมโยงกันอย่างราบรื่น
→5.4 การประเมินผลของฝ่ายและหน่วยงาน เป็นกาประเมินโดยมองการเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายหรือหน่วยงาน
→5.5 การปรับปรุงงานของฝ่ายและหน่วยงานต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อคุณภาพโดยรวมขององค์กร


6. การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement)
การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง คือ การสร้างมาตรฐาน่ให้เกิดขึ้น โดยการปฏิบัติดังนี้
→6.1 กำหนดนโยบายการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
→6.2 สร้างระบบการบริหารให้มีกระบวนการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
→6.3 จัดการฝึกอบรมให้พนักงานทุกระดับ ใช้ระเบียบวิธี PDCA ในการปฏิบัติงานและดำเนินการปรับปรุงงานทันทีที่เห็นปัญหา หรือจุดบกพร่อง
→6.4 จัดกิจกรรมและปัจจัยสนับสนุนการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
→6.5 กระประเมินผลอย่างเป็นระบบ มีแผนการประเมิน มีเกณฑ์การประเมิน และมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน ย่อมทำให้พนักงานประจักร์ในความจำเป็นต้องปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง


7. ใช้ข้อเท็จจริงเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจ
การตัดสินใจใดๆ ถ้าใช้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีระบบการจัดเก็บที่เชื่อถือได้ เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และถ้าผ่านกระบวนการวิเคราห์มาแล้วอย่างเป็นระบบ ย่อมทำให้ การตัดสินใจ มีประสิทธิภาพ การใช้ข้อเท็จจริงเป็นพื้นฐานการตัดสินใจ ทำได้โดย
→7.1 จัดให้มีการรวบรวม และเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
→7.2 ข้อมูลมีความถูกต้อง เชื่อถือได้และใหม่เสมอ
→7.3 มีกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการทางสถิติ
→7.4 เลือกใช้ข้อมูลได้อย่างเหมาะสมและตรงประเด็น
→7.5 การตัดสินใจนอกจากจะให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ยังต้องใช้ประสบการณ์และการคาดการณ์ล่วงหน้าที่แม่นยำด้วย


8. สัมพันธภาพกับผู้ส่งมอบอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน
ผู้ส่งมอบหรือตัวแทนจำหน่ายมีความสัมพันธ์กับองค์กร โดยมีผลประโยชน์ร่วม
ร่วมกันดังนั้น สัมพันธภาพระหว่างองค์กรกับผู้ส่งมอบจึงต้องส่งเสริมให้ทั้งสองฝ่ายร่วมกันสร้างคุณภาพเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน แนวทางการสร้างสัมพันธ์ภาพกับผู้ส่งมอบพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันได้แก่
→8.1 คัดเลือกผู้ส่งมอบที่มีประสิทธิภาพ
→8.2 สร้างระบบความสัมพันธ์ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
→8.3 สร้างระบบการสื่อสาร หรือเครือข่ายการประสารงานที่มีประสิทธิภาพ
→8.4 ติดต่อสัมพันธ์กันด้วยความสื่อสัตย์โปร่งใส
→8.5 ให้ความจริงใจกับการพัฒนาระบบความสัมพันธ์ โดยเน้นการสร้างคุณภาพให้กับทั้ง 2 ฝ่าย


ระบบการบริหารงานคุณภาพ (Quality Management System)
    ข้อกำหนดระบบบริหางานคุณภาพอยู่ในมาตรฐาน ISO 9001:2000 โดยองค์กรต้องจัดระบบการบริหารงานที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์คุณภาพขององค์กร ระบบบริหารงานหมายถึง โครงสร้างและหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร ระบบบริหารงานจะเกิดประสิทธิภาพและสร้างคุณภาพได้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่อไปนี้

1. การกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์คุณภาพ เพราะนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร คือแนวทางหลักที่หน่วยงานทุกหน่วยงานต้องยืดมั่นและปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์คุณภาพการกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์คุณภาพ มีกระบวนการดังนี้
1.1 การศึกษาและวิจัยตลาด เป็นการศึกษา 2 มิติ ได้แก่ มิติความต้องการของลูกค้าและมิติของคู่แข่งในตลาด
1.2 การศึกษาและวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ เป็นการทบทวน ทดสอบและประเมินผลผลิตภัณฑ์/งานบริการที่ดำเนินการอยู่ หรือที่คิดค้นขึ้นใหม่ว่า ตรงกับความต้องการของลูกค้า และสามารถแข่งขันในตลาดได้


2. การกำหนดความคาดหวัง/มาตรฐาน/เป้าหมายของผลิตภัณฑ์หรืองานบริการจากการศึกษาความต้องการของลูกค้าและตลาด เพื่อให้ฝ่ายผลิต และฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการดำเนินงาน

3. การกำหนดกระบวนการผลิต/การบริการ เมื่อมีความชัดเจนด้านมาตรฐานนและเป้าหมายของผลิตภัณฑ์และงานบริการเราก็สามารถกำหนด
→3.1 กระบวนการผลิต/การบริการ ตามกระบวนการบริหารงานคุณภาพในแผนภูมิที่ 5.1ได้
3.2 สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการผลิต/การบริการ ด้วยมาตรฐานการตรวจสอบและเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ


4. การวางแผนงานคุณภาพเพื่อกำหนดการใช้ทรัพยากร ในการผลิตหรือการให้บริการอย่างเหมาะสม พอเพียง และเกิดประสิทธิภาพการทำงาน แผนงานหลัก แผนงานประจำปี หรือแผนพัฒนาองค์กร เป็นต้น และมีการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์คุณภาพที่ตั้งไว้

5. การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานความต้องการของลูกค้าโดยการตรวจสอบผลการปรับปรุงงานต่อไป
ความคาดหวังและความต้องการของลูกค้า รวมถึงสภาพการแข่งขันในตลาดไม่คงที่แน่นอน มีการเปลี่ยแปลงตามสภาวะของเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น การศึกษาและวิจัยตลาดจึงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องด้วย


6. สร้างระบบหรือหน่วยงานเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กร นอกเหนือจากหน่วยงานที่มีอยู่ เช่น ฝ่ายการจัดซื้อ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายผลิต ฝ่ายการเงิน ฯลฯ จะต้องสร้างระบบหรือหน่วยงานเพิ่มประสิทธิภาพดังต่อไปนี้
→6.1 ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพทำให้การเชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆมีความสัมพันธ์กัน เข้าใจตรงกัน และสร้างคุณภาพร่วมกันระบบการสื่อสารควรเป็นระบบสื่อสาร แบบ 2 ทาง คือ ทำได้ทั้งส่งข้อมูลและรับข้อมูล
→6.2 ระบบการประเมินคุณภาพและระบบการตรวจสอบคุณภาพที่มีมาตรฐาน มีความชัดเจน มีข้อบ่งชี้ที่ทุกหน่วยงานรับทราบร่วมและต้องมีแผนการตรวจสอบที่แน่นอนด้วย
→6.3 ระบบการฝึกอบรม / พัฒนาบุคลากร ที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสัมพันธ์กับระบบการปรับปรุงงาน
→6.4 ระบบลูกค้าสัมพันธ์ ที่สามารถสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและผู้จำหน่ายหรือลูกค้า
ระบบการบริหารงานคุณภาพยังต้องใช้หลักการการบริหารงานคุณภาพในองค์กรทั้ง 8 ข้อ ที่กล่าวถึงในข้อ 2. ด้วย




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผี png




วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561


นิยามและชนิดของคุณภาพ


คุณภาพ หมายถึง ระดับที่กำหนดคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ รูปร่างลักษณะ และความเหมาะสมในการใช้งาน ตลอดจนถึงจุดดีของผลิตภัณฑ์

โดยสามารถจำแนกคุณภาพออกได้เป็น 4 ชนิด คือ

1.  คุณภาพที่บอกกล่าว (Stated quality)
หมายถึง คุณภาพที่กำหนดขึ้นระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย ระดับคุณภาพ จะถูกกำหนดขึ้นจากการคาดหมายของผู้ซื้อ โดยที่ผู้ผลิตจะทำหน้าที่ผลิตให้เป็นไปตามสัญญา
2.  คุณภาพที่แท้จริง (Real quality)
หมายถึง คุณภาพที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่เริ่มผลิตจนกระทั่งสินค้าหมดอายุ ระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จะมีคุณภาพสูงเพียงใด จะขึ้นอยู่กับการผลิต ที่เริ่มตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการผลิต ในกระบวนการผลิต จะต้องทำให้ดีที่สุด เพื่อผลผลิตที่ออกมาตามคุณภาพที่คาดคะเนไว้ หากคุณภาพที่แท้จริง ต่ำกว่าระดับคุณภาพที่คาดคะเนไว้ ผลเสียก็จะเกิดกับผู้ผลิต เพราะจะทำให้ เสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงแก้ไขผลิตภัณฑ์ และอาจจะขายไม่ได้
3.  คุณภาพที่โฆษณา (Advised quality)
หมายถึง คุณลักษณะต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ที่ถูกกำหนดโดยผู้ผลิต หรือผู้ขาย เพื่ออ้างถึง สรรพคุณ หรือ รับประกันคุณภาพให้กับลูกค้า ในเชิงการค้า
4.  คุณภาพจากประสบการณ์ (Experienced quality)
หมายถึง คุณภาพที่เกิดขึ้น จากประสบการณ์ของผู้ใช้สินค้าเอง คุณภาพจะดีไม่ดีอย่างไร ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ หากผู้ใช้นำไปใช้ได้ผลดี ก็จะบอกว่าสินค้านั้นดี หากไม่ดี ก็จะบอกว่าสินค้านั้นไม่ดี ซึ่งคำว่าดีไม่ดีนี้ จะขึ้นอยู่กับเฉพาะตัวบุคคลแต่ละคน

จากคำนิยามของคำว่า คุณภาพ ก็จะสามารถให้ความหมายของคำว่าการควบคุมคุณภาพ คือ การควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ให้อยู่ระดับมาตรฐาน ซึ่งจะรวมถึงกิจกรรมต่างๆ หรือผลรวมของกิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมา มีข้อบกพร่อง

 ความจำเป็นในการควบคุมคุณภาพ

ในกระบวนการผลิตสินค้าใดๆ ส่วนประกอบที่สำคัญ ที่ทำให้เกิดผลผลิตที่ดี คือ คน เครื่องจักร วัตถุดิบ ถ้าส่วนประกอบทั้ง 3 ไม่บกพร่อง สินค้าที่ผลิตได้ ก็อยู่ในระดับมาตรฐานที่น่าเชื่อถือ สำหรับผู้บริโภค แต่ความเป็นจริง ส่วนประกอบเหล่านี้ จะมีความผันแปร จึงจำเป็นต้องมีการควบคุม ความผันแปรที่เกิดขึ้น ดังนี้

1.  คน..(People)..เป็นองค์ประกอบหนึ่ง ที่ทำให้เกิดความผันแปรในกระบวนการผลิต ส่วนของความผันแปรจากคน ได้แก่ ความผันแปรเนื่องมาจากการจัดการ (Management) เช่น ขาดการวางแผนที่ดี มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการอยู่เสมอ คนงาน (worker) เป็นความผันแปรที่เกิดจาก แรงงานที่ขาดความรู้ ความชำนาญ ความเบื่อหน่าย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ขาดคุณภาพ

2.  เครื่องจักร..(Machine)..เป็นส่วนประกอบ ที่ทำให้เกิดความผันแปรในการผลิตได้ เพราะเครื่องจักรที่ใช้ไปนานๆ จะทำให้เกิดการสึกหรอ การทำงานขาดความแม่นยำ ผลผลิตที่ได้ก็ขาดคุณภาพ
3.  วัตถุดิบ..(Material)..เป็นส่วนประกอบของการผลิต กล่าวคือ ถ้าวัตถุดิบขาดคุณภาพ ผลผลิตที่ได้ก็จะขาดคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ จึงถือว่าเป็นความจำเป็นของกระบวนการผลิต เพื่อให้ผลผลิตได้มาตรฐานตามต้องการ

ประวัติความเป็นมาของการควบคุมคุณภาพ

1. CHAPTER 1 ประวัติความเป็ นมาของการควบคุมคุณภาพ 1. ยุคเริ่มต้น (ยุคก่อนปี พ.ศ. 2483) 2. ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ก่อนปี พ.ศ. 2485) 3. ยุคระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2485-2503) 4. ยุคปัจจุบัน (พ.ศ.2503-ปัจจุบัน)

2.ยุคเริ่มต้น ยุคก่อนปี พ.ศ. 2483 ในยุคนั้นภาพพจน์ของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่นก็คือเป็นผู้ผลิตสินค้าชั้นเลว แต่ปัจจุบันนี้สินค้าที่ออกจาก จากญี่ปุ่นกลับกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนนิยมในความยอดเยี่ยมใน ในเรื่ องคุณภาพ จึงมีผู้อยากรู้กันว่า อะไรกันที่ทาให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงอย่างหน้ามือเป็นหลังมือขึ้นได้ สาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนี้ก็เนื่องมาจากการที่นาย นายพล ดักลาส แม็คอาเธอร์ ผู้บัญชาการกองกาลังสหรัฐฯ ที่มาประจาการในญี่ปุ่นตอนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผู้ มุ่งมั่นที่จะช่วยให้ชาวญี่ปุ่นสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจและการเงิน การเงินของประเทศให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้นั่นเอง ยิ่งกว่านั้น แม็คอาเธอร์ยังรู้ดีว่าการที่ญี่ปุ่ นขาดแคลนแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติ ทาให้ญี่ปุ่นต้องติดต่อค้าขายกับต่างชาติ ต่างชาติ และยังรู้อีกว่า ภาพพจน์ของชาวญี่ปุ่นที่ว่า ชอบผลิต ผลิตสินค้าชั้นเลว จะทาให้มีผู้ซื้อสินค้าญี่ปุ่นไม่กี่ราย

3. ความพยายามของแม็คอาเธอร์ได้รับ ความร่วมมืออย่างดี จากผู้นารัฐบาลและ นักธุรกิจและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่ น นอกจากนั้นแม็คอาเธอร์ยังได้รับความ ช่วยเหลือจากชาวอเมริกันหลายท่าน ทีเดียว เพื่อช่วยเหลือญี่ปุ่ นในการเพิ่ม คุณภาพของสินค้า ซึ่งในบรรดานี้ก็มีคนๆ หนึ่งชื่อ ดร.เอ็ดเวิร์ด ดับบริว เดมมิ่ง ผู้ ริเริ่มระบบ คิว.ซี.ทางสถิติ (SQC) สาหรับชาวญี่ปุ่น ได้มาช่วยสอนวิชาการ ควบคุมคุณภาพ โดยเน้นในการใช้สถิติ เพื่อการควบคุมคุณภาพ (SQC) และ ผลที่ได้รับก็คือ ชาวญี่ปุ่นยินยอมรับรู้และ เรียนเทคนิคนี้อย่างตั้งอกตั้งใจ

4. 2. ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ก่อนปี พ.ศ. 2485) -ในปี พ.ศ.2468-2474 ดร.ชิวฮาร์ด(Dr. W.A.

5. -ในปี พ.ศ.2468 เช่นเดียวกัน ดร. ดอดจ์ (H.F. Dodge) ได้เสนอหลักการ ชักตัวอย่าง เพื่อการยอมรับสินค้าหรือชิ้นงาน และวิธีการสร้ างแผนชักตัวอย่าง โดย กาหนดค่าความเสี่ยงของผู้บริโภคและความ เสี่ยงของผู้ผลิต -ในปี พ.ศ.2485 ได้มีกลุ่มผู้สนใจในงานการควบคุมคุณภาพรวมตัวกันเพื่อการ จัดตั้งกลุ่มวิจัยทางสถิติ(The statistical Research Group) ที่ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กลุ่มวิจัยนี้ได้ร่วมกันทางานวิจัยด้านการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ โดยมีผลงานที่สาคัญๆ ประกอบด้วย -ในปีพ.ศ.2488 การวิเคราะห์เชิงลาดับสาหรับข้อมูลทางสถิติการประยุกต์ (sequential analysis of statistical data applications) - ในปีพ.ศ.2490 เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ (techniques of statistical analysis) - ในปีพ.ศ.2491 การตรวจสอบโดยวิธีชักตัวอย่าง (sampling inspection)

6. ยุคระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2485-2503) ในประเทศอเมริกา ในปี พ.ศ.2489 สมาคมและกลุ่มผู้ทางานเกี่ยวกับการควบคุม คุณภาพได้รวมตัวกันก่อตั้งเป็ น สมาคมแห่งอเมริกาเพื่อการควบคุมคุณภาพ (American Society for Quality Control) สมาคมแห่งนี้ได้รับมี บทบาทอย่างสาคัญต่อการพัฒนาหลักการควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมมาจวบจนยุค ปัจจุบัน ในประเทศญี่ปุ่น เดือนมีนาคม พ.ศ.2493 ได้มีการกาหนด มาตรฐานอุตสาหกรรม ญี่ปุ่ น (JIS : Japanese Industrial Standards) ขึ้นภายใต้กฎหมาย มาตรฐานอุตสาหรรมของประเทศญี่ปุ่น และได้เริ่มต้นปฏิบัติตามระบบ JIS ด้วยการ ตรวจสอบการควบคุมคุณภาพตามบริษัทต่างๆในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.2493 ดร.เดมมิ่ง ผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันในเรื่อง SQC ได้รับเชิญจากสหภาพนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรแห่งประเทศญี่ปุ่น( Japanese Union of Scientists and Engineers หรือ JUSE) ให้ไปบรรยาย เรื่องวิธีการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ (SQC หรือ Statistical Quality Control) ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงของโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น หลักสูตรการบรรยาย 8 วันที่ดร.เดมิ่งได้ไปบรรยายไปนั้น โดยญี่ปุ่นได้รับมาใช้อย่างจริงจัง และได้กลายเป็นพื้นฐาน

7. ดร.เดมมิ่ง ได้ทานายว่า หลังจากที่ญี่ปุ่ นยอมรับหลักการ SQC นี้แล้ว ชาติ ต่างๆในโลกก็มีหวังต้องกาหนดโควต้าสั่งสินค้าเข้า เพื่อจากัดการนาเข้าสินค้า ญี่ปุ่ น ภายหลังระยะเวลา 5 ปี หลังจากนี้เท่านั้น เพราะสินค้าญี่ปุ่ นมีผู้ต้องการซื้อ มากขึ้น ในปี พ.ศ. 2494 ได้มีการกาหนดรางวัลยอดเยี่ยมให้แก่โรงงานที่มีผลงานด้าน การควบคุมคุณภาพในประเทศญี่ปุ่น โดยให้ตั้งชื่อว่า รางวัลเดมมิ่ง ( Deming prize ) เพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร. เดมิ่ง ในปี พ.ศ. 2497 ดร.เจ.เอ็ม.จูแรน (Dr.J.M.Juran) ได้รับเชิญเป็น ผู้บรรยายในการสัมมนาเรื่อง การจัดการงานควบคุมคุณภาพ (QC Management) ซึ่งจัดขึ้นโดย JUSE

8. ดร.เจ.เอ็ม.จูแรน ซึ่งก็เป็นอีกบุคคลผู้หนึ่งที่มีบทบาทอย่างสาคัญต่อการ พัฒนาของการควบคุมคุณภาพในยุคปัจจุบัน ดร.จูแรน เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่ได้รับ การยกย่องว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสาเร็จของอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ผลงานของ ดร. จูแรน มีมากมายทั้งบทความและหนังสือ เขาได้เน้นเสมอว่าการผลิตสินค้าที่มี คุณภาพดี จะต้องเกิดจากการตระหนักถึงความสาคัญของคุณภาพสินค้าของ ผู้บริหารระดับสูง การให้การศึกษาอบรมด้านคุณภาพสินค้าแก่คนงานทุกคนแม้ใน ระดับปฏิบัติการ และการให้ความสาคัญในด้านคุณภาพสินค้าตั้งแต่ขั้นตอนการ วิจัยตลาด การออกแบบสินค้า ความสัมพันธ์กับผู้ผลิต และจาหน่ายชิ้นส่วน การ ผลิต การจัดส่ง และอื่นๆ และ ดร. จูแรน ได้ให้ข้อสังเกตว่า การบริหารคุณภาพ ประกอบด้วย การวางแผนคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ และปรับปรุงคุณภาพ ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงจึงต้องมีการดาเนินการ ทั้ง 3 ด้าน และมีการประกันคุณภาพ เพื่อให้ลูกค้ามีความมั่นใจ

9. ในประเทศญี่ปุ่นเองบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยกย่องว่ามีบทบาทอย่างสาคัญต่อการพัฒนา คุณภาพสินค้าของอุตสาหกรรมญี่ปุ่นคือ ศาสตราจารย์ ดร.คาโอรุ อิชิกาวา (Kaoru Ishikawa) ซึ่งเริ่มเรียนรู้หลักการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติในปี พ.ศ.2493 และได้ พบกับ ดร.ชิวฮาร์ด ในปีพ.ศ.2501 เมื่อครั้งที่ไปเยือนเอทีแอนด์ที และห้องปฏิบัติการ เบลล์ ดร.อิชิกาวา ได้เริ่มนาหลักการของแผนภูมิควบคุมมาสอนและประยุกต์ใช้ใน อุตสาหกรรมญี่ปุ่นตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ดร.อิชิกาวา คือ แผนภูมิก้างปลาหรือแผนภูมิเหตุและผล เพื่อใช้ในการระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหาด้าน คุณภาพ

10. ยุคปัจจุบัน (พ.ศ.2503-ปัจจุบัน) นับแต่ทศวรรษที่ 2503 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมในโลกเสรีได้รับการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง เป็นผลทาให้เกิดสภาพการแข่งขันทางการตลาดที่เข้มข้น ตลอดจนการ เกิดของประเทศผู้นาทางอุตสาหกรรมใหม่ เช่น ญี่ปุ่ น ฝรั่งเศส และเยอรมัน เป็นต้น ก่อให้เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพสินค้า การพัฒนาด้านเทคนิคและวิธีควบคุม คุณภาพให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งหน่วยงานที่มีบทบาทอย่างสาคัญต่อการกาหนด มาตรฐานและวิธีการควบคุมคุณภาพคือ กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้พิมพ์ เผยแพร่มาตรฐานการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ ที่เรียกว่า มาตรฐานทางการ ทหาร(Military standard) สาหรับมาตรฐานทางการทหารส่วนใหญ่ จะ ได้รับการยอมรับให้กาหนดเป็นมาตรฐานANSI (American National Standard Institute) อย่างไรก็ตามกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ก็ยังคง ดาเนินกิจกรรมด้านการควบคุมคุณภาพโดยประสานงานร่วมมือกับกลุ่มประเทศต่างๆ เช่น กลุ่ม ABCAที่ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย และ กลุ่มประเทศแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต NATO

11. ช่วงปี พ.ศ.2504-2505 นี้ได้เกิดกลุ่ม QCC (Quality Control Circle) ซึ่งจัดได้ว่าเป็นระบบงานที่ดีเด่นมากระบบหนึ่งของการบริหารที่มีชื่อของญี่ปุ่น กิจกรรมควบคุมคุณภาพจึงแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก ในปัจจุบันหลักการและแนวคิดด้านการควบคุมคุณภาพ มิได้ เน้นเฉพาะด้านเทคนิคหรือวิธีการควบคุมคุณภาพแต่เพียงอย่าง เดียว แต่ยังได้เน้นถึงในด้านการประสานงาน และความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานทุกหน่วยในองค์การตลอดจนมีการเสริมสร้าง ทักษะและความเข้าใจด้านคุณภาพสินค้าให้แก่บุคคลากรทุกระดับ ซึ่ ง แ น ว ค ว า ม คิ ด นี้ เ อ . วี . เ ฟ เ ก น บ า ม ( A.V. Feigenbaum) จาก บริษัท General Electric ของอเมริกัน เสนอไว้ในหนังสือที่เขาเขียนขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 ชื่อว่า การควบคุมคุณภาพสมบูรณ์แบบ หรือ การ บริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Control : TQC) ซึ่งแนวความคิดนี้ได้รับการยอมรับ และนาไปปฏิบัติ อย่างจริงจังในประเทศญี่ปุ่น จนทาให้สินค้าจากประเทศญี่ปุ่นมี

12. จึงอาจกล่าวได้ว่ากิจการใดมีการบริหาร โดยยึดคุณภาพเป็นเป้ าหมายรวม เป็น แกนกลาง เรียกว่ามีการบริหารระบบ TQC หรือการบริหารทั่วทั้งองค์การ ทั้งนี้ เนื่องจากหลังสงครามโลกครั้งที่2 เริ่มแรกนั้นญี่ปุ่นใช้ SQC (Statistical Quality Control) แล้วก็เกิดกลุ่ม QCC (Quality Control Circle) ขึ้น ทั้ง SQC และ QCC ได้มีการพัฒนาตัวเองตลอดในช่วง 40 กว่า ปีมานี้ตลอดเวลาที่ผ่านมาต้องประสพกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆมากมาย แต่ก็ได้ แก้ไขเรื่อยมาจนกระทั่งพบว่า บทบาทของผู้บริหารระดับสูงที่จาเป็ นต้องมีในกิจกรรม QC เป็นสิ่งสาคัญที่มักจะถูกมองข้าม จนทาให้เป็ นอุปสรรคอันเป็นปัญหาของ กิจกรรม QC ขึ้น และปัญหานี้ก็ได้เกิดขึ้นในญี่ปุ่นมาแล้ว หนทางแก้ไขก็คือ การเน้น บทบาทและเอาใจใส่ต่อกิจกรรมQC ของผู้บริหารระดับสูงให้มากขึ้น ซึ่งนี่ก็คือหนึ่ง ในที่มาของ TQC ในประเทศญี่ปุ่น อันเป็นวิวัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของ QCC

13. TQC ของญี่ปุ่นนี้มีแนวทางการปฏิบัติที่แตกต่างจาก TQC ของ ดร.ไฟเกน บาวน์ คือ QC จะต้องดาเนินการโดยพนักงานทุกคนทั่วทั้งองค์การ ไม่ใช่แค่ ผู้เชี่ยวชาญ QC เท่านั้น ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ญี่ปุ่นจึงเรียก TQC แบบ ญี่ปุ่นว่า Company Wide Quality Control (CWQC)แม้ว่า สหรัฐอเมริกาจะเป็นต้นกาเนิดของ QC หรือ TQC แต่เมื่อเห็นว่าวิธีการของญี่ปุ่น ใช้ได้ผลดี จึงพยายามนาแนวทาง TQC แบบญี่ปุ่นกลับมาใช้ในอเมริกา และตั้งชื่อ ใหม่ว่า Total Quality Management (TQM)( ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า คาว่า QC ในอดีตนั้นหมายถึง SQC แต่ปัจจุบันนี้QC หมายถึง TQC CWQC และ TQM )

14. บุคคลอีกท่านหนึ่งในยุคปัจจุบันที่ได้รับการยก ย่องว่ามีบทบาทในการกระตุ้นให้องค์กรตระหนักใน เรื่องคุณภาพสินค้าคือ ดร.ฟิ ล ครอสบี (Phil Crosby) อดีตรองประธานกรรมการและ กรรมการด้านคุณภาพของบริษัท ไอทีที (ITT) แห่ง สหรัฐอเมริกา จากประสบการณ์อันยาวนานกว่า 25 ปี ของ ดร.ครอสบี เขาได้เขียนหนังสือที่สาคัญไว้ 2 เล่มคือ Quality Is Free และ Quality Without Tears ในปี พ.ศ.2522 และ พ.ศ.2528 ตามลาดับของ ดร.ครอสบี เน้นให้เห็น ว่าคุณภาพ สินค้าที่ดี สามารถได้มาโดยไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่าย และไม่ยากลาบากอะไรเลย ถ้าเพียงแต่ ผู้บริหารทุกระดับจะเอาใจใส่และมีมาตรการในการ ควบคุมอย่างจริงจัง

15. สรุปได้ว่า ญี่ปุ่ นประสบความสาเร็จอย่างสูง เพราะไม่มีประเทศอื่นใดเลยที่สนใจกันใน เรื่องนี้ และด้วยความพยายามอย่างสูงของญี่ปุ่ น ทุกวันนี้ชื่อเสียงในด้าน คุณภาพสินค้าของญี่ปุ่ น กลายเป็ นสิ่งที่ใครๆ พากันอิจฉาและยกย่องกันทั่ว โลก ซึ่งมีหลายคนที่รู้สึกว่าญี่ปุ่ นได้พิชิตความเป็ นผู้นาด้านคุณภาพก่อนปี 2523 เสียด้วยซ้า

16. งานมอบหมาย รายงานวิชาการบริหารคุณภาพในงานอุตสาหกรรม กลุ่มที่ 1 รายงานเรื่อง “ISO 9001” กลุ่มที่ 2 รายงานเรื่อง “ISO 14000/14001” กลุ่มที่ 3 รายงานเรื่อง “การบริหารการผลิต” กลุ่มที่ 4 รายงานเรื่อง “การประกันคุณภาพการศึกษา” กลุ่มที่ 5 รายงานเรื่อง “กิจกรรม 5 ส” กลุ่มที่ 6 รายงานเรื่อง “Re-engineering”

17. ให้นักศึกษาทารายงาน พร้อมทั้งเตรียมนาเสนอรายงาน ตามปฏิทินนี้ 8 มี.ค. 58 สอบกลางภาค 15 มี.ค. 58 นาเสนอรายงาน กลุ่มที่ 1, 2 และ 3 22 มี.ค. 58 นาเสนอรายงาน กลุ่มที่ 4, 5 และ 6 ให้นักศึกษา ส่งรายงาน(รูปเล่ม) ก่อนนาเสนอ 1 สัปดาห์




ที่มา : www.research.att.com

 ค.ศ.1924
Walter A.she whart ชาวอเมริกาได้นำแผนภูมิการควบคุมคุณภาพมาใช้กับบริษัท Bell Telephon Laboratinice