👻 การจัดองค์การ 👻
ความหมายของการจัดองค์การ
องค์การ
คือกลุ่มบุคคลแต่เป็นกลุ่มที่ค่อนข้างใหญ่และมีลักษณะเฉพาะที่มีจุดมุ่งหมายในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยกลุ่มบุคคลนี้จะมีสิ่งยึดเหนี่ยวร่วมกันและร่วมแรงรวมใจกันทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
องค์การจึงมีลักษณะดังนี้
1. องค์การเป็นรูปแบบของการรวมบุคคล
2. มีความสัมพันธ์ที่จะทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน
3. มีการแบ่งงาน จัดสรรหน้าที่ให้สมาชิกในองค์การ
4. มีโครงสร้างขององค์การในลักษณะของการบังคับบัญชา
5. มีการยอมรับในสังคม ตามระเบียบแบนแผน ประเพณี หรือกฎหมาย
ทฤษฎีองค์การ
ทฤษฎีองค์การอาจแบ่งได้ 3 ทฤษฎี คือ
1 ทฤษฎีดั้งเดิม (Classical Organization Theory)
แนวความคิดทฤษฎีดั้งเดิมวิวัฒนาการจากการปกครองแบบทหาร
จนถึงปลายศตวรรษที่ 19 ได้นักบริหารสร้างรูปแบบการบริหารในระบบราชการขึ้น
คือ แมค วีเบอร์ และสร้างรูปแบบการบริหารโดยใช้การจัดการทางวิทยาศาสตร์ คือ
เฟรดเดอริค เทย์เลอร์ ทฤษฎีนี้มีหลักการว่า คนเป็นเครื่องมือที่ทำให้องค์การไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางได้ ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดต่อไปนี้
1.1 การจัดองค์การแบบราชการ(Bureaucracy)ของแมควีเบอร์(Max Weber)ได้เน้นให้เห็นถึงการจัดโครงการที่เป็นระเบียบสาระสำคัญที่
แมค วีเบอร์ ได้เน้นคือ องค์การแบบราชการในอุดมคตินั้น จะต้องประกอบด้วย
(1)จะต้องมีการแบ่งงานกันทำโดยให้แต่ละคนปฏิบัติงานในสาขาที่ตนมีความชำนาญ
(2) การยึดถืองานให้ยึดถือกฎเกณฑ์ระเบียบวินัยโดยเคร่งครัด
เพื่อที่จะให้ได้มาตรฐานของงานเท่าเทียมกันการยึดถือกฎเกณฑ์นี้จะช่วยขจัดพฤติกรรมที่บุคลแตกต่างกันสามารถมาประสานกันได้
(3) สายการบังคับบัญชาต้องชัดเจน
โดยผู้บังคับบัญชามอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบลดหลั่นกันลงไป
(4) บุคคลในองค์การต้องไม่คำนึกถึงความสัมพันธ์ส่วนบุคคล โดยพยายามทำงานให้ดีที่สุดเพื่อเป้าหมายขององค์การ
(5) การคัดเลือกบุคคล การว่าจ้าง
ให้ขึ้นอยู่กับความสามารถ
และการเลื่อนตำแหน่งให้คำนึงถึงการประสบความสำเร็จในการงานและอาวุโสด้วยจุดอ่อนขององค์การแบบราชการก็คือ
การเน้นที่องค์การโดยละเลยการพิจารณาถึงปัญหาของคน และเชื่อว่าการที่มีโครงสร้างที่รัดกุมแน่นอนจะช่วยให้บุคคลปรับพฤติกรรมให้เป็นไปตามความต้องการขององค์การได้
2.2 การจัดองค์การแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ของ เฟรดเดอริค เทย์เลอร์
(FcedericTaylor)เป็นการจัดองค์การแบบนำเอาวิธีการศึกษาวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์และแก้ปัญหาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การให้ดีขึ้นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มจากการหาความสัมพันธ์ระหว่างงานและคนงานโดยการใช้การทดลอง
เป็นเกณฑ์เพื่อหามาตรการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยที่คนงานจะถูกพิจารณาว่าต้องการทำงานเพื่อเศรษฐกิจด้านเดียว
โดยละเลยการศึกษาถึงแรงจูงใจ อารมณ์ และความต้องการในสังคมของกลุ่มคนงาน
เพราะเชื่อว่าเงินตัวเดียวจะล่อใจให้คนทำงานได้ดีที่สุด

2 ทฤษฎีสมัยใหม่ ( Neo-Classical Organization Theory )
3 ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน ( Modern Organization Theory )
ทฤษฎีนี้กล่าวว่าเป็นการศึกษารูปแบบขององค์การในปัจจุบันโดยเน้นที่การวิเคราะห์องค์การในเชิงระบบ (Systems Analysis of Organization) กล่าวคือ
นักทฤษฎีได้พิจารณาองค์การในลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด
ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ที่อยู่ภายในองค์การ
การศึกษาว่าองค์การเป็นระบบหนึ่งๆ นั้นได้คำนึงถึงองค์ประกอบภายในองค์การทุกส่วน
ได้แก่ ตัวป้อน กระบวนการ ผลผลิต ผลกระทบ และสิ่งแวดล้อม ( Input, Process, Output, Feedback, and
Environment )การศึกษาองค์การในรูประบบนั้นได้พยายามที่จะมององค์การในลักษณะการเคลื่อนไหว(Dynamic) และปรับเข้ากับรูปแบบองค์การได้ในทุกสภาวะแวดล้อม
ทั้งนี้เพราะนักทฤษฎีปัจจุบันได้มององค์การในลักษณะกระบวนการทางด้านโครงสร้างที่บุคคลต่างๆจะต้องเกี่ยวพันซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ
จึงมีการศึกษาพฤติกรรมองค์การในลักษณะใหม่ๆ เช่น พฤติกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การบริการแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาองค์การ คิว.ซี. และการบริหารแบบอนาคตนิยม
เป็นต้น
ประเภทขององค์การ(Types of Organization)
องค์การ คือลักษณะเป็นโครงสร้างของสังคม
องค์การทุกองค์การมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่แตกต่างกัน
สามารถแยกองค์การตามโครงสร้างสังคมได้ 4 ประเภท คือ
1. องค์การของรัฐ เป็นองค์การที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการให้บริการแก่ประชาชนโดยไม่หวังผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจ ได้แก่ ส่วนราชการต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานย่อยหลายๆหน่วยงาน เช่น กระทรวง ทบวง กรม สถาบันการศึกษาของรัฐ
2. องค์การทางธุรกิจ เป็นองค์การของเอกชนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกำไรให้แก่ผู้ลงทุนซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ หลายหน่วยงาน เช่น บริษัท ห้าง ร้าน โรงแรมต่างๆ
3. องค์การรัฐวิสาหกิจ เป็นองค์การที่รัฐเป็นเจ้าของแต่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการในเชิงการค้าที่ไม่หวังผลกำไร เช่น กงค์การขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นต้น
4. องค์การอาสาสมัคร เป็นองค์การของเอกชนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์สังคมช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ บรรเทาสาธารณะภัย เช่น มูลนิธิร่วมกตัญญู มูลนิธิสายใจไทย
หลักการจัดองค์การ
หลักการจัดองค์การ OSCAR ของ Henri Fayol มาจากคำว่า Objective, Specialization, Coordination, Authority และ Responsibility ซึ่ง Fayol ได้เขียนหลักของการจัดองค์การไว้ 5 ข้อ เมื่อนำเอาตัวอักษรตัวแรกของคำทั้ง 5 มาเรียงต่อกัน จะทำให้สะกดได้คำว่า OSCAR สำหรับรายละเอียด ทั้ง 5 คำจะขอกล่าวไว้ใน " หลักในการจัดองค์การที่ดี "
หลักในการจัดองค์การที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบและแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้ (ศิริอร ขันธหัตถ์, 2536)
3. หลักการประสานงาน (Coordination) กล่าวว่า การประสานงานกัน
คือ การหาทางทำให้ทุกๆฝ่ายร่วมมือกันและทำงานสอดคล้องกัน โดยใช้หลักสามัคคีธรรม
เพื่อประโยชน์ขององค์การ
4. หลักของอำนาจหน้าที่ (Authority) กล่าวว่า ทุกองค์การต้องมีอำนาจสูงสุด จากบุคคลผู้มีอำนาจสูงสุดนี้ จะมีการแยกอำนาจออกเป็นสายไปยังบุคคลทุกๆคนในองค์การ หลักนี้บางทีเรียกว่า Scalar Principle (หลักความลดหลั่นของอำนาจ) บางทีเรียกว่า Chain of command (สายการบังคับบัญชา) การกำหนดสายการบังคับบัญชานี้ก็เป็นวิธีประสานงานอย่างหนึ่ง
12. หลักการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง
(Promotion) ในการพิจาความดีความความชอบและการเอนตำแหน่งควรถือหลักว่า
ผู้บังคับบัญชาโดยตรงย่อมเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับใต้บังคับบัญชาของตนโดยใกล้ชิดและย่อมทราบพฤติกรรมในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดีกว่าผู้อื่น
ดังนั้นการพิจารณาให้คุณและโทษแก่ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ใดก็ควรให้ผู้นั้นทราบและมีสิทธิมีเสียงในการพิจารณาด้วยเพื่อความเป็นธรรมแก่ใต้บังคับบัญชาของเขา
และเพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญในการทำงานของบุคคลในองค์การด้วย
1. องค์การของรัฐ เป็นองค์การที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการให้บริการแก่ประชาชนโดยไม่หวังผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจ ได้แก่ ส่วนราชการต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานย่อยหลายๆหน่วยงาน เช่น กระทรวง ทบวง กรม สถาบันการศึกษาของรัฐ
2. องค์การทางธุรกิจ เป็นองค์การของเอกชนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกำไรให้แก่ผู้ลงทุนซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ หลายหน่วยงาน เช่น บริษัท ห้าง ร้าน โรงแรมต่างๆ
3. องค์การรัฐวิสาหกิจ เป็นองค์การที่รัฐเป็นเจ้าของแต่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการในเชิงการค้าที่ไม่หวังผลกำไร เช่น กงค์การขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นต้น
4. องค์การอาสาสมัคร เป็นองค์การของเอกชนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์สังคมช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ บรรเทาสาธารณะภัย เช่น มูลนิธิร่วมกตัญญู มูลนิธิสายใจไทย
หลักการจัดองค์การ
หลักการจัดองค์การ OSCAR ของ Henri Fayol มาจากคำว่า Objective, Specialization, Coordination, Authority และ Responsibility ซึ่ง Fayol ได้เขียนหลักของการจัดองค์การไว้ 5 ข้อ เมื่อนำเอาตัวอักษรตัวแรกของคำทั้ง 5 มาเรียงต่อกัน จะทำให้สะกดได้คำว่า OSCAR สำหรับรายละเอียด ทั้ง 5 คำจะขอกล่าวไว้ใน " หลักในการจัดองค์การที่ดี "
หลักในการจัดองค์การที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบและแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้ (ศิริอร ขันธหัตถ์, 2536)
1. หลักวัตถุประสงค์
(Objective) กล่าวว่า องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน
นอกจากนั้นตำแหน่งยังต้องมีวัตถุประสงค์ย่อยกำหนดไว้เพื่อว่าบุคคลที่ดำรงตำแหน่งจะได้พยายามบรรลุวัตถุประสงค์ย่อย
ซึ่งช่วยให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์รวม
2. หลักความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง
(Specialization) กล่าวว่า การจัดแบ่งงานควรจะแบ่งตามความถนัด
พนักงานควรจะรับมอบหน้าที่เฉพาะเพียงอย่างเดียวและงานหน้าที่ที่คล้ายกันหรือสัมพันธ์กัน
ควรจะต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของคนคนเดียว
4. หลักของอำนาจหน้าที่ (Authority) กล่าวว่า ทุกองค์การต้องมีอำนาจสูงสุด จากบุคคลผู้มีอำนาจสูงสุดนี้ จะมีการแยกอำนาจออกเป็นสายไปยังบุคคลทุกๆคนในองค์การ หลักนี้บางทีเรียกว่า Scalar Principle (หลักความลดหลั่นของอำนาจ) บางทีเรียกว่า Chain of command (สายการบังคับบัญชา) การกำหนดสายการบังคับบัญชานี้ก็เป็นวิธีประสานงานอย่างหนึ่ง
5. หลักความรับผิดชอบ
(Responsibility) หลักของความรับผิดชอบ กล่าวว่า
อำนาจหน้าที่ควรจะเท่ากับความรับผิดชอบ
คือบุคคลใดเมื่อได้รับมอบหมายความรับผิดชอบก็ควรจะได้รับมอบหมายอำนาจให้เพียงพอ
เพื่อทำงานให้สำเร็จด้วยดี
6. หลักความสมดุล
(Balance) จะต้องมอบหมายให้หน่วยงานย่อยทำงานให้สมดุลกันกล่าวคือปริมาณงานควรจะมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน
รวมทั้งความสมดุลระหว่างงานกับอำนาจหน้าที่ที่จะมอบหมายด้วย
7. หลักความต่อเนื่อง
(Continuity) ในการจัดองค์การเพื่อการบริหารงานควรจะเป็นการกระทำที่ต่อเนื่อง
ไม่ใช่ ทำ ๆ หยุด ๆ หรือ ปิด ๆ เปิด ๆ
ยิ่งถ้าเป็นบริษัทหรือห้างร้านคงจะไปไม่รอดแน่
8. หลักการโต้ตอบและการติดต่อ
(Correspondence) ตำแหน่งทุกตำแห่งจะต้องมีการโต้ตอบระหว่างกันและติดต่อสื่อสารกัน
องค์การจะต้องอำนวยความสะดวก จัดให้มีเครื่องมือและการติดต่อสื่อสารที่เป็นระบบ
9. หลักขอบเขตของการควบคุม
(Span of control) เป็นการกำหนดขีดความสามารถในการบังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง
ๆ ว่าควรจะควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาหรือจำนวนหน่วยงานย่อยมากเกินไป โดยปกติหัวหน้าคนงานไม่เกิน
6 หน่วยงาน
10. หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา
(Unity of command) ในการจัดองค์การที่ดี
ควรให้เจ้าหน้าที่รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าง่านเพียงคนเดียวเท่านั้น
เพื่อให้เกิดเอกภาพในการบังคับบัญชาจึงถือหลักการว่า "One man one boss"
11. หลักตามลำดับขั้น
(Ordering) ในการที่นักบริหารหรือหัวหน้างานจะออกคำสั่งแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
ควรปฏิบัติการตามลำดับขั้นของสายการบังคับบัญชาไม่ควรออกคำสั่งข้ามหน้าผู้บังคับบัญชา
หรือผู้ที่มีความรับผิดชอบโดยตรง เช่น อธิการจะสั่งการใด ๆ
แก่หัวหน้าภาควิชาควรที่จะสั่งผ่านหัวหน้าคณะภาควิชานั้นสังกัดอยู่
อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะได้แจ้งหัวหน้าคณะวิชานั้น ๆ ทราบด้วย
เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด
และอาจจะเป็นการทำงายขวัญและจิตใจในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยไม่ตั้งใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น